ข้ามไปเนื้อหา

ข้อปัญหา 95 ข้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ญัตติ 95 ข้อ)
ข้อปัญหา 95 ข้อ
A single page printing of the Ninety-Five Theses in two columns
ภาพป้ายประกาศที่เขียน ข้อปัญหา 95 ข้อ ปัจจุบันอยู่ที่Berlin State Library
ผู้ประพันธ์มาร์ติน ลูเทอร์
ชื่อเรื่องต้นฉบับDisputatio pro declaratione virtutis indulgentiarum[a]
ประเทศเยอรมัน
ภาษาลาติน
วันที่พิมพ์31 ตุลาคม ค.ศ.1517
(10 พฤศจิกายน ค.ศ.1517 แบบใหม่)
ข้อความข้อปัญหา 95 ข้อ ที่ วิกิซอร์ซ

ข้อปัญหา 95 ข้อ (อังกฤษ: Ninety-five Theses) หรือ การถกเถียงเรื่องอำนาจแห่งพระคุณการุณย์ (อังกฤษ: Disputation on the Power of Indulgences[a]) เป็นรายการญัตติสำหรับการถกเถียงทางวิชาการ ซึ่งมาร์ติน ลูเทอร์ ศาสตราจารย์เทววิยาศีลธรรม ณ มหาวิยาลัยวิทเทนเบิร์ก ประเทศเยอรมนี เขียนใน ค.ศ. 1517 ซึ่งเริ่มต้นการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ อันเป็นสังฆเภทในคริสตจักรคาทอลิก ซึ่งเปลี่ยนแปลงทวีปยุโรปอย่างสำคัญ ข้อปัญหาเหล่านี้เสนอจุดยืนของลูเทอร์ต่อต้านสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นวัตรปฏิบัติละเมิดของผู้เผยแผ่ศาสนาที่ขายพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ (plenary indulgence) อันเป็นใบประกาศซึ่งเชื่อว่าลดการลงโทษชั่วคราวสำหรับบาปที่ผู้ซื้อหรือคนรักของผู้ซื้อกระทำในแดนชำระ ในข้อปัญหาฯ ลูเทอร์เชื่อว่า ความสำนึกผิดที่พระคริสต์ต้องการจึงจะยกโทษบาปนั้นเกี่ยวข้องกับความสำนึกผิดฝ่ายวิญญาณภายในมากกว่าการสารภาพสาบานภายนอกเท่านั้น เขาแย้งว่า พระคุณการุณย์นำให้คริสต์ศาสนิกชนเลี่ยงความสำนึกผิดและความเศร้าที่แท้จริงสำหรับบาป โดยเชื่อว่าพวกเขาสามารถสละบาปได้เพียงซื้อพระคุณการุณย์ ตามที่ลูเทอร์เขียน วัตรปฏิบัติดังกล่าวยังส่งเสริมให้คริสต์ศาสนิกชนไม่บริจาคให้คนยากจนและแสดงความเมตตาแบบอื่น โดยเชื่อว่าใบประกาศพระคุณการุณย์มีค่าทางวิญญาณมากกว่า แม้ลูเทอร์อ้างว่าจุดยืนต่อพระคุณการุณย์ของเขาสอดคล้องกับจุดยืนของพระสันตะปาปา แต่ข้อปัญหาฯ ยังคัดค้านสารตราพระสันตะปาปาสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 ที่ระบุว่า พระสันตะปาปาสามารถใช้พระคลังบุญและคุณความดีของอดีตนักบุญยกโทษการลงโทษชั่วคราวสำหรับบาปได้ ข้อปัญหาฯ ยังวางกรอบเป็นญัตติให้ถกเถียงมากกว่าแสดงความเห็นของลูเทอร์ แต่ภายหลังลูเทอร์แสดงมุมมองของเขาใน คำอธิบายการถกเถียงเกี่ยวกับคุณค่าของพระคุณการุณย์

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ละติน: Disputatio pro declaratione virtutis indulgentiarum-The title comes from the 1569 Basel pamphlet printing. The first printings of the Theses use an incipit rather than a title which summarizes the content. The 1569 Nuremberg placard edition opens Amore et studio elucidande veritatis: hec subscripta disputabuntur Wittenberge. Presidente R.P Martin Luther ... Quare petit: vt qui non possunt verbis presentes nobiscum disceptare: agant id literis absentes. Luther usually called them "meine Propositiones" (my propositions).[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Cummings 2002, p. 32.