ข้ามไปเนื้อหา

ชูอิจิ นางูโมะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชูอิชิ นะงุโมะ)
ชูอิจิ นางูโมะ
นากุโมะ ชูอิจิ ในสมัยที่เป็นพลเรือโท
ชื่อพื้นเมือง
南雲 忠一
เกิด25 มีนาคม ค.ศ.1887
โยเนซาวะ, จังหวัดยามางาตะ ญี่ปุ่น
เสียชีวิต6 กรกฎาคม ค.ศ.1944 (อายุ 57 ปี)
เกาะไซปัน, แปซิฟิกใต้ในอาณัติ
รับใช้ ญี่ปุ่น
แผนก/สังกัดNaval flag of จักรวรรดิญี่ปุ่น กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
ประจำการค.ศ.1908 – ค.ศ.1944
ชั้นยศเรือตรี (ค.ศ.1910)
เรือโท (ค.ศ.1911)
เรือเอก (ค.ศ.1914)
นาวาตรี (ค.ศ.1920)
นาวาโท (ค.ศ.1924)
นาวาเอก (ค.ศ.1929)
พลเรือตรี (ค.ศ.1935)
พลเรือโท (ค.ศ.1939 จนถึงการเสียชีวิต)
พลเรือเอก (แต่งตั้งหลังการเสียชีวิต)
หน่วยคิโด บุไต
บังคับบัญชาวิทยาลัยการทัพเรือแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น
กองเรือที่ 3 แห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น
ที่ว่าการนาวิกโยธินซาเซโบ
ที่ว่าการนาวิกโยธินคุเระ
กองเรือที่ 1 แห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น
กองเรือพื้นที่แปซิฟิกกลาง
กองบินที่ 14
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่สอง
การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
การทิ้งระเบิดดาร์วิน
การตีโฉบฉวยมหาสมุทรอินเดีย
ยุทธนาวีที่มิดเวย์
ยุทธนาวีที่ตะวันออกของเกาะโซโลมอน
ยุทธนาวีที่เกาะซานตากรุซ
ยุทธการที่ไซปัน 
บำเหน็จเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย (ชั้นที่ 3)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย (ชั้นที่ 4)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหยี่ยวทองคำ (ชั้นที่ 3)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ (ชั้นที่ 1)

ชูอิจิ นางูโมะ (ญี่ปุ่น: 南雲 忠一โรมาจิNagumo Chūichi; 25 มีนาคม ค.ศ. 1887 – 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1944) เป็นแม่ทัพเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการของหน่วยคิโด บุไต (กลุ่มกระบวนเรือคุ้มกัน-Carrier battle group)[1] เขาได้ฆ่าตัวตายในช่วงยุทธการที่ไซปัน

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]
นากุโมะ ชูอิจิ ในสมัยที่เป็นเรือโท

เกิดที่เมืองโยเนซาวะ เป็นบุตรชายคนที่สองของนากุโมะ ชูโซ (Nagumo Shūzō, 南雲周蔵) ซึ่งเป็นเลขาธิการสำนักงานเขต เขาจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1908 และได้อันดับที่ 5 จากทั้งหมด 191 อันดับ จากนั้นก็ได้เข้าประจำการที่เรือลาดตระเวนป้องกันโซยะ ตามมาด้วยเรือลาดตระเวนหุ้มเกราะนิชชินและเรือลาดตระเวนป้องกันนิตากะ เขาได้รับยศเป็นเรือตรีและเข้าประจำการที่เรือลาดตระเวนหุ้มเกราะอาซามะในปี ค.ศ.1910

ในปี ค.ศ.1911 เขาเข้าศึกษาในวิทยาลัยการทัพเรือ ในสาขาวิชาปืนใหญ่และตอร์ปิโด และได้ยศเรือโท เขาเข้าประจำการที่เรือพิฆาตชั้นคามิกาเสะฮัตสึยูกิในปี ค.ศ.1913 เขาได้ยศร้อยเอกในปี ค.ศ.1914 และเข้าประจำการที่เรือประจัญบานคิริชิมะ ในปี ค.ศ.1915 ได้เข้าประจำการที่เรือพิฆาตสุงิ เขาได้เป็นผู้บังคับการประจำเรือพิฆาตคิซารางิในปี ค.ศ.1917 เขาจบการศึกษาจากวิทยาลัยการทัพเรือในปี ค.ศ.1918

ถือได้ว่าเขาชำนาญทางยุทธวิธีเรือพิฆาตและยุทธวิธีตอร์ปิโด เขาได้รับยศนาวาตรีและได้เป็นผู้บังคับการเรือพิฆาตโมมิในปี ค.ศ.1920 ในปี ค.ศ.1921 เขาได้เป็นเจ้าหน้าที่กองเรือพิฆาตที่หนึ่ง โดยในตอนแรกเขาเข้าประจำการที่เรือธงทัตสึตะ ก่อนจะย้ายไปประจำการที่เรือธงเท็นริว ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.1922 เขาได้ทำงานเป็นเสนาธิการกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยทำงานได้เพียง 4 วัน เขาได้รับยศนาวาโทในปี ค.ศ.1924

วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ.1925 เขาได้เดินทางเพื่อศึกษากลยุทธ์ ยุทธวิธี และยุทโธปกรณ์ทางกองทัพเรือในยุโรปและสหรัฐอเมริกา เขาเดินทางกลับถึงประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1926 จากนั้นเขาได้ประจำการที่เรือปืนซากะในเดือนมีนาคม และประจำการที่เรือปืนอุจิในเดือนตุลาคม เขาได้รับยศนาวาเอกและเข้าประจำการที่เรือลาดตระเวนนากะในปี ค.ศ.1929 เขาได้ประจำการที่เรือทากาโอะในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ.1933 และได้ประจำการที่เรือประจัญบานยามาชิโระในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1934 เขาได้รับยศพลเรือตรีในปี ค.ศ.1935 เขาได้เป็นครูใหญ่ประจำโรงเรียนตอร์ปิโดกองทัพเรือในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1937 เขาได้รับยศพลเรือโทในปี ค.ศ.1939 และได้เป็นครูใหญ่ประจำวิทยาลัยการทัพเรือในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ.1940

สงครามโลกครั้งที่ 2

[แก้]

10 เมษายน ค.ศ.1941 นากุโมะได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่ทัพใหญ่ประจำกองบินที่ 1 ซึ่งการแต่งตั้งนี้ได้รับการยอมรับจากโยชิดะ เซ็นโงะและยามาโมโตะ อิโซโรกุ มีเรื่องเล่าว่า โอซาวะ จิซาบุโระก็เป็นหนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ประจำหน่วยนี้ แต่เสียงส่วนใหญ่ตัดสินให้แต่งตั้งนากุโมะ นอกจากนี้ยังมีความเห็นว่า สาเหตุที่นากุโมะได้รับการแต่งตั้งเป็นเพราะว่าเขาสามารถจัดการและบริหารงานได้ดีกว่าโอซาวะ หลังจากการแต่งตั้ง เขาก็ได้ให้นาวาโทเก็นดะ มิโนรุ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญด้านการบินนาวี ทำการซ้อมรบและฝึกฝนทหารให้มีความชำนาญ จากนั้นหน่วยของพวกเขาก็ได้เข้าร่วมในการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

เขาเกือบจะเสียชีวิตในการรบที่มิดเวย์ เมื่อเรืออะกางิที่เขาประจำการถูกโจมตีอย่างหนักโดยเรือรบของฝ่ายสหรัฐและเรือกำลังจะจมลง เขาและคุซากะ ริวโนะสุเกะ ซึ่งเป็นนายทหารผู้ช่วย รวมทั้งคนอื่น ๆ ที่ยังรอดชีวิต สามารถหนีออกจากตัวเรือได้ แต่คุซากะได้รับบาดเจ็บจากบาดแผลที่ถูกไฟไหม้และข้อเท้าเคล็ดทั้งสองข้าง จากการพ่ายแพ้ครั้งนี้ ญี่ปุ่นได้เกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมากและเริ่มเสียเปรียบทางกลยุทธ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก ในตอนแรก นากุโมะคิดจะฆ่าตัวตาย แต่คุซากะได้มาห้ามปรามเอาไว้ ว่ากันว่า หลังจากยุทธการ นากุโมะดูเหมือนจะสูญเสียความมั่นใจและสูญเสียประสิทธิภาพในการบัญชาการเป็นอย่างมาก

ต่อมาเขาได้รับมอบหมายให้บัญชาการมณฑลทหารเรือซาเซโบและมณฑลทหารเรือคุเระซึ่งเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการฝึกอบรมเท่านั้น

วันที่ 4 มีนาคม ค.ศ.1944 เขาได้รับมอบหมายให้บัญชาการกองเรือที่ 14 และกองเรือพื้นที่แปซิฟิกกลางในบริเวณหมู่เกาะมาเรียนา เมื่อการรบที่ไซปันได้เปิดฉากในวันที่ 15 มิถุนายน พบว่ากองเรือที่นำทัพโดยโอซาวะได้ถูกกองเรือที่ 5 เข้าโจมตีอย่างหนักในยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปิน ซึ่งญี่ปุ่นสูญเสียเรือบรรทุกเครื่องบิน 3 ลำและเครื่องบินประมาณ 600 ลำ ทำให้กองกำลังที่ประจำการอยู่เกาะไซปัน มีเพียงตัวนากุโมะ, พลโทยาโนะ ฮิเดโอะ และ พลโทไซโตะ โยชิสึกุคอยบัญชาการ หลังจากการต่อสู้ประมาณ 20 วัน นากุโมะก็ได้ตัดสินใจใช้ปืนยิงตนเองเสียชีวิต ว่ากันว่า หลังจากที่กองทัพสหรัฐเข้ายึดเกาะไซปันได้ พลเรือเอกเรย์มอนด์ เอ. สพรัวนซ์รู้สึกพึงพอใจกับการตัดสินใจของนากุโมะ นากุโมะได้รับการแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นพลเรือเอกในวันที่ 8 กรกฎาคม

ในวัฒนธรรมสมัยใหม่

[แก้]

ภาพยนตร์

[แก้]

ละครโทรทัศน์

[แก้]

เกม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Klemen, L. "Vice-Admiral Chuichi Nagumo". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30.