ชอพูร์ แบฆทียอร์
ชอพูร์ แบฆทียอร์ | |
---|---|
นายกรัฐมนตรีอิหร่าน คนที่ 45 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี |
ก่อนหน้า | โกลอมเรซอ แอซฮอรี |
ถัดไป | เมฮ์ดี บอแซร์กอน (ในฐานะนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน) |
รัฐมนตรีช่วยกระทรวงแรงงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กรกฎาคม 1952 – 9 เมษายน 1953 | |
รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 13 มกราคม 1979 – 23 มกราคม 1979 | |
แต่งตั้งโดย | พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี |
ก่อนหน้า | แอบบอส แกเรบอฆี |
ถัดไป | แอฮ์แมด แซย์เอด แจวอดี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 มิถุนายน ค.ศ. 1914 แชฮ์เรโคร์ด แชฮอร์แมฮอลและแบฆทียอรี รัฐเปอร์เซียอันประเสริฐ |
เสียชีวิต | 6 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ซูว์แรน ฝรั่งเศส | (77 ปี)
ศาสนา | อิสลาม |
คู่สมรส | มาดแลน แชฮีนทอจ |
ชอพูร์ แบฆทียอร์ (เปอร์เซีย: شاپور بختیار) เป็นนักการเมืองชาวอิหร่าน เขาเป็นนายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายในรัชสมัยพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี[1] นอกจากนี้เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและสมาชิกสภาผู้สำเร็จราชการแห่งรัฐอีกด้วย ในคำพูดของนักประวัติศาสตร์อับบาส มิลานี : "มากกว่าหนึ่งครั้งในน้ำเสียงของเยเรมีย์เขาเตือนประเทศชาติถึงอันตรายของเผด็จการลัทธิอำนาจนิยมและว่าลัทธิฟาสซิสต์ของมุลละฮ์จะมืดมนกว่าคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองใดๆ"[1]
นายกรัฐมนตรี
[แก้]การประท้วงใหญ่เกิดขึ้นอีกที่เมืองมาชาดมีการลุกฮือเผาบ้านของชาวอเมริกัน ตลอดจนกิจการต่าง ๆ ของชาวตะวันตก[2] ทหารได้สกัดกั้นและทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อย เหตุการณ์ลุกลามใหญ่โตจนรัฐบาลอเมริกา และยุโรปสั่งให้คนของตนออกจากอิหร่าน[2] ความตึงเครียดที่กดดันทำให้ชาห์ทำตามคำแนะนำของอเมริกา โดยการเสด็จออกนอกประเทศพร้อมครอบครัว เมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1979[2][3] โดยที่รัฐบาลของนายชาห์ปูร์ บัคเตียร์ ได้ออกประกาศว่า พระองค์มิได้สละบัลลังก์แต่อย่างใด[2] และแล้วในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ โคมัยนีพร้อมผู้ช่วยราว 500 คน และนักหนังสือพิมพ์อีก 150 คน ได้โดยสารเครื่องบินโบอิ้ง 747 ของสายการบินฝรั่งเศสกลับสู่อิหร่าน โดยมีประชาชนต้อนรับอย่างเนืองแน่น แม้ระยะแรกกองทัพบกประกาศว่าพร้อมหลั่งเลือดเพื่อค้ำบัลลังก์ชาห์[2] หรือหนุนรัฐบาลนายบัคเตียร์ ภายหลังกองทัพบกได้วางตัวเป็นกลาง[2] ประชาชนฝ่ายโคมัยนีจึงได้เข้าควบคุมเตหะรานไว้ได้โดยบุกยึดที่ทำการรัฐบาล กระทรวงทบวงกรม ตึกรัฐสภา และสถานีตำรวจไว้ได้หมด[2]
ต่อมารัฐบาลที่ได้รับการแต่งตั้งจากโคมัยนีก็เข้ารับหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ภายในประเทศ และนำอิหร่านเข้าสู่การปกครองของรัฐอิสลามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[4] โดยมีผู้นำสูงสุดคือ อิหม่ามโคมัยนี เรียกว่า ฟากิฮ์ หรือ รอฮ์บัรร์ ถือเป็นผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณมีอำนาจครอบคลุมทั้งการเมืองและการปกครองทั้งหมด[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Milani, Abbas (2008). Eminent Persians: The Men and Women Who Made Modern Iran, 1941–1979. Syracuse University Press and Persian World Press. p. 109. ISBN 978-0815609070.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 จักรพันธุ์ กังวาฬ และคนอื่นๆ. หน้า 22
- ↑ "อิหร่าน (๓)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.
- ↑ 4.0 4.1 จักรพันธุ์ กังวาฬ และคนอื่นๆ. หน้า 23