ข้ามไปเนื้อหา

การคืนน้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชดเชยสารน้ำ)

การคืนน้ำ (อังกฤษ: rehydration) เป็นการรักษาภาวะขาดน้ำ ปกติใช้สารละลายน้ำเกลือแร่ (ORS) สารละลายสามัญประจำบ้าน ได้แก่ น้ำเกลือ เครื่องดื่มโยเกิร์ตผสมเกลือ ซุปผักและซุปไก่ใส่เกลือ ก็สามารถให้ได้เช่นกัน ส่วนสารละลายตามครัวเรือน เช่น น้ำที่ใช้เตรียมธัญพืช ซุปไม่ใส่เกลือ น้ำมะพร้าวอ่อน ชาอ่อน (ไม่ใส่สารให้ความหวาน) และน้ำผลไม้สดที่ไม่ใส่สารให้ความหวานสามารถเติมเกลือครึ่งถึงหนึ่งช้อนชา (1.5 ถึง 3 กรัม) ต่อลิตร น้ำจืดสะอาดยังสามารถเป็นของเหลวที่ให้ได้ชนิดหนึ่ง[1] มีสารละลายพาณิชย์ เช่น พีเดียไลท์ (Pedialyte) และหน่วยงานบรรเทาทุกข์อย่างยูนิเซฟ ใช้การแจกจ่ายถุงเกลือและน้ำตาลอย่างกว้างขวาง สิ่งพิมพ์เผยแพร่สำหรับแพทย์ขององค์การอนามัยโลกแนะนำ ORS ทำเอง ซึ่งประกอบด้วยน้ำหนึ่งลิตร และเติมเกลือหนึ่งช้อนชา (3 กรัม) และน้ำตาลสองช้อนโต๊ะ (18 กรัม)[1] (คือ ประมาณ "รสน้ำตา"[2]). ) โครงการการคืนน้ำแนะนำให้เติมน้ำตาลปริมาณเท่ากันแต่เติมเกลือเพียงครึ่งช้อนชา โดยกล่าวว่า การเจือจางที่มากขึ้นนี้มีความเสี่ยงน้อยกว่าและเสียประสิทธิภาพน้อยมาก[3] ทั้งสองหน่วยงานเห็นตรงกันว่า การดื่มน้ำตาลหรือเกลือมากเกินไปสามารถทำให้ภาวะขาดน้ำเลวลงได้[1][3]

ควรให้สังกะสีและโพแทสเซียมเสริมในปริมาณที่เหมาะสมด้วยหากหาได้ แต่ความพร้อมของธาตุเหล่านี้ไม่ควรชะลอการคืนน้ำ องค์การอนามัยโลกชี้ว่า สิ่งสำคัญที่สุด คือ เริ่มต้นจากการป้องกันภาวะขาดน้ำให้เร็วที่สุด[1]

การอาเจียนเกิดบ่อยระหว่างชั่วโมงแรกหรือชั่วโมงที่สองของการรักษาด้วย ORS โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเด็กดื่มสารละลายเร็วเกินไป แต่การอาเจียนมักไม่มีผลต่อการคืนน้ำ เพราะของเหลวส่วนใหญ่ยังถูกดูดซึมได้ องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าหากเด็กอาเจียน ให้รอห้าถึงสิบนาทีและเริ่มให้สารละลายอีกครั้ง แต่ให้ช้าลง[1]

องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า เด็กที่ป่วยท้องร่วงให้ได้รับอาหารต่อไป การให้อาหารต่อเนื่องช่วยให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติฟื้นตัวเร็วขึ้น ตรงกันข้าม เด็กที่ถูกจำกัดอาหาร มีระยะอาการท้องร่วงนานกว่าและฟื้นฟูการทำงานของลำไส้ช้ากว่า เด็กยังควรได้รับนมแม่ต่อไปด้วย[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 The Treatment Of Diarrhea, A manual for physicians and other senior health workers, World Health Organization, 2005. See “4.2 Treatment Plan A: home therapy to prevent dehydration and malnutrition,” “4.3 Treatment Plan B: oral rehydration therapy for children with some dehydration,” and “4.4 Treatment Plan C: for patients with severe dehydration” on pages 8 to 16 (12 -20 in PDF). See also “8. MANAGEMENT OF DIARRHOEA WITH SEVERE MALNUTRITION” on pages 22-24 (26-30 in PDF) and “ANNEX 2: ORAL AND INTRAVENOUS REHYDRATION SOLUTIONS” on pages 33-37 (37-41 in PDF).
  2. A GUIDE ON SAFE FOOD FOR TRAVELLERS, WELCOME TO SOUTH AFRICA, HOST TO THE 2010 FIFA WORLD CUP (bottom left of page 1).
  3. 3.0 3.1 Rehydration Project, http://rehydrate.org/Homemade Oral Rehydration Solution Recipe.