งูหลามแอฟริกา
งูหลามแอฟริกา | |
---|---|
เพศเมียวัยผู้ใหญ่ (สังเกตที่ร่างกายหนา) | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน |
อันดับ: | กิ้งก่าและงู |
อันดับย่อย: | งู Serpentes |
วงศ์: | วงศ์งูเหลือม |
สกุล: | Python (Gmelin, 1789) |
สปีชีส์: | Python sebae |
ชื่อทวินาม | |
Python sebae (Gmelin, 1789) | |
ขอบเขตของ Python sebae
ขอบเขตของ Python natalensis
ขอบเขตของลูกผสม | |
ชื่อพ้อง[2] | |
ชื่อพ้อง
|
งูหลามแอฟริกา (อังกฤษ: African rock python; ชื่อวิทยาศาสตร์: Python sebae) เป็นงูขนาดใหญ่ไม่มีพิษชนิดหนึ่งจำพวกงูหลาม
งูหลามแอฟริกาโดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาลและมีลวดลายประจำตัวสีน้ำตาลอ่อนและเขียวเข้มปนเหลือง ด้านล่างลำตัวมีสีขาวครีม จัดเป็นงูอีกชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความยาวเฉลี่ย 6 เมตร (20 ฟุต) หรือมากกว่า พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางตอนใต้ของซาฮาร่า, แอฟริกาตะวันออก, โมซัมบิก, ซิมบับเวและในภาคตะวันออกของแอฟริกาใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง)[3]
งูหลามแอฟริกา จัดเป็นงูขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา กินสัตว์ขนาดใหญ่กว่าเป็นอาหารได้ เช่นสิงโต แอนทิโลป, จระเข้ แม้กระทั่งวิลเดอบีสต์ และมีรายงานว่าทำร้ายและฆ่ามนุษย์ได้ด้วย ด้วยขากรรไกรที่ไม่เชื่อมต่อกันและกระดูกซี่โครงที่สามารถยืดขยายได้และไม่มีกระดูกช่วงอกเหมือนงูชนิดอื่น ๆ แต่โดยปกติแล้วจะกินอาหารจำพวกสัตว์ขนาดเล็ก เช่น นก, หนู, กระรอก เป็นอาหารมากกว่า[4][5][6]
ตัวเมียวางไข่ได้ถึง 100 ฟอง ระยะเวลาการกกไข่อยู่ที่ระหว่าง 2-3 เดือน ลูกงูที่เพิ่งฟักออกจากไข่มีความยาวประมาณ 50-60 เซนติเมตร ลูกงูที่เพิ่งฟักออกจากไข่จะมีสีเดียวกัน และจะมีสีที่เข้มขึ้นเมื่อเติบโตขึ้นตามวัย งูตัวเมียจะมีความดุร้ายอย่างในช่วงการกกไข่[7]
งูหลามแอฟริกา มีความดุร้ายก้าวร้าวกว่างูหลามพม่า (Python bivittatus) และปัจจุบันมีรายงานการเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกับงูหลามพม่าไปแล้ว โดยสามารถแพร่กระจายพันธุ์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์ รัฐฟลอริดา และจากการศึกษาพบว่าสามารถที่จะผสมข้ามพันธุ์กับงูหลามพม่าได้ด้วย[8]
รูปภาพ
[แก้]-
งูหลามแอฟริการัดและฆ่าแอนทิโลป
-
ส่วนหัว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Alexander, G.J.; Tolley, K.A.; Penner, J.; Luiselli, L.; Jallow, M.; Segniagbeto, G.; Niagate, B.; Howell, K.; Beraduccii, J.; Msuya, C.A. & Ngalason, W. (2021). "Python sebae". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T13300572A13300582. สืบค้นเมื่อ 2 December 2021.
- ↑ McDiarmid RW, Campbell JA, Touré TA (1999). Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, Volume 1. Washington, District of Columbia: Herpetologists' League. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
- ↑ จาก itis.gov
- ↑ "ช่างภาพช็อค!! งูหลามยักษ์แอฟริกา เขมือบวิลเดอร์บีส จากเอ็มไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ 2013-01-10.
- ↑ "AGN: Couple acquitted in child's death by python". Amarillo Globe-News. 25 March 2000.
- ↑ Flanagan, Jane (November 25, 2002). "Children terrified as python eats boy". The Age. สืบค้นเมื่อ January 14, 2010.
- ↑ งูหลามแอฟริกา
- ↑ งูหลามพม่า, "สำรวจโลก" ทาง new)tv: วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Boulenger GA (1893). Catalogue of the Snakes in the British Museum (Natural History). Volume I., Containing the Families ... Boidæ ... London: Trustees of the British Museum (Natural History). (Taylor and Francis, printers). xiii + 448 pp. + Plates I-XXVIII. (Python sebae, pp. 86–87).
- Gmelin JF (1789). Caroli a Linné Systema Naturae. Editio Decima Tertia [13th edition]. Tomus 1, Pars 3. Leipzig: G.E. Beer. 1,896 pp. (Coluber sebae, new species, p. 1118). (in Latin).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แม่แบบ:ARKive
- Python sebae ที่คลังข้อมูลสัตว์เลื้อยคลาน Reptarium.czสืบค้นเมื่อ 12 September 2007