ข้ามไปเนื้อหา

การปริทัศน์เป็นระบบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก งานปฏิทัศน์เป็นระบบ)

การปริทัศน์เป็นระบบ[1] (อังกฤษ: systematic review) เป็นการปริทัศน์สิ่งตีพิมพ์หลาย ๆ งานที่พุ่งความสนใจไปยังประเด็นปัญหาหนึ่งทางการวิจัย มีจุดประสงค์เพื่อจะหา ประเมิน เลือกสรร และรวบรวมหลักฐานงานวิจัยมีคุณภาพทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหานั้น ๆ การปริทัศน์ผลงานการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) เป็นกระบวนการที่ขาดไม่ได้ทางแพทยศาสตร์อาศัยหลักฐาน (evidence-based medicine)[2]

ความเข้าใจในเรื่องการปริทัศน์อย่างเป็นระบบและวิธีการดำเนินงานปริทัศน์จริง ๆ เริ่มกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้มีอาชีพเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล นอกจากจะเป็นงานเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลระดับรายบุคคลแล้ว การปริทัศน์อย่างเป็นระบบอาจจะรวบรวมข้อมูลของการทดลองทางคลินิก การรักษาพยาบาลในระดับกลุ่มชน การรักษาพยาบาลทางสังคม ผลที่ไม่พึงประสงค์จากการรักษาพยาบาล และการประเมินผลทางเศรษฐกิจ[3][4]

การปริทัศน์อย่างเป็นระบบไม่ได้จำกัดแต่ในเวชศาสตร์เท่านั้น แต่ยังมีใช้กันอย่างทั่ว ๆ ไปในงานวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่มีการเก็บข้อมูลที่มีการเผยแพร่ และที่การประเมินคุณภาพระเบียบวิธี (methodology) ที่ใช้ในการศึกษาปัญหาที่กำหนดได้อย่างเฉพาะเจาะจง จะเป็นประโยชน์[5] วิชาการสาขาอื่น ๆ ที่ใช้การปริทัศน์อย่างเป็นระบบรวมทั้งจิตวิทยา พยาบาลศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สาธารณสุข กิจกรรมบำบัด วจีบำบัด (speech therapy) กายภาพบำบัด งานวิจัยทางการศึกษา (educational research) สังคมวิทยา การบริหารธุรกิจ การบริหารสิ่งแวดล้อม และชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ (conservation biology)[6]

ลักษณะ

[แก้]

การปริทัศน์อย่างเป็นระบบมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงความย่อของสิ่งตีพิมพ์ทั้งหมดที่มีอยู่ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาหนึ่ง ๆ การดำเนินการขั้นแรกของการปริทัศน์ก็คือ การค้นหาผลงานเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่มีการเผยแพร่แล้วทั้งหมดอย่างถี่ถ้วน หมวดว่าด้วยระเบียบวิธี (Methodology) ในงาน จะมีรายการของฐานข้อมูล และดัชนีการอ้างอิง (citation index) ที่ผู้ทำงานได้ค้นหา เช่น Web of Science, Embase, PubMed และวารสารอื่น ๆ ที่ได้ค้นหาแล้วด้วยมือ ต่อจากนั้น จะมีการคัดเลือกโดยทั้งรายชื่อและบทคัดย่อของบทความที่หาได้ เทียบกับกฏเกณฑ์ที่ได้วางไว้แล้วล่วงหน้า โดยตรวจสอบทั้งความเหมาะสมและความตรงประเด็น กฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่วางไว้นั้น จะขึ้นอยู่กับประเด็นปัญหาที่สนใจ บทความวิจัยที่ได้รับเลือกอาจจะได้รับการประเมินคุณภาพของระเบียบวิธีอย่างเป็นกลาง ๆ และโดยนิยมจะใช้ระเบียบวิธีที่

  • เข้ากับข้อกำหนดของ PRISMA (Preferred reporting items for systematic reviews and meta-analyses)[7] ซึ่งปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจากวารสารเกี่ยวกับสุขภาพประมาณ 174 วารสาร
  • หรือเข้ากับมาตรฐานคุณภาพของ Cochrane collaboration[8] ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดระเบียบข้อมูลวิจัยทางการแพทย์

งานปริทัศน์เป็นระบบมักจะใช้ (แต่ไม่เสมอไป) เทคนิคทางสถิติ (เช่น meta-analysis) เพื่อประมวลผลของบทความวิจัยที่เข้ามาตรฐาน หรืออย่างน้อยก็จะประเมินระดับคุณภาพของหลักฐานงานวิจัย ขึ้นกับระเบียบวิธีที่ใช้ในงานวิจัยนั้น ๆ โดยอาจจะใช้ผู้ประเมินผลเพิ่มขี้นอีกคนหนึ่ง เพื่อตัดสินการประเมินคุณภาพที่ไม่ลงตัวกันระหว่างผู้ประเมินผล[5][9][10] การปริทัศน์เป็นระบบมักจะใช้ในงานวิจัยเกี่ยวกับชีวเวชหรือการรักษาพยาบาล แต่สามารถใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทุกอย่าง มีองค์กรต่าง ๆ เช่น Campbell Collaboration ที่ส่งเสริมการใช้การปริทัศน์เป็นระบบ ในการตั้งนโยบายเพื่อแก้ปัญหาอื่น ๆ นอกจากสุขภาพ

การปริทัศน์เป็นระบบใช้หลักวิธีที่เป็นกลางและมีความโปร่งใส ในการประมวลข้อมูลงานวิจัย โดยจุดประสงค์อีกอย่างหนึ่งก็คือเพื่อลดระดับความเอนเอียง (bias) ให้น้อยที่สุด แม้ว่า การปริทัศน์เป็นระบบโดยมากมักจะเป็นงาน meta-analysis รวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) แต่ก็มีงานปริทัศน์ของข้อมูลงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ที่ทำตามมาตรฐานในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และการรายงานหลักฐาน EPPI-Centre เป็นองค์กรที่มีความสำคัญในการพัฒนาระเบียบวิธี ที่จะรวมข้อมูลจากงานวิจัยทั้งที่เป็นเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในงานปริทัศน์เป็นระบบ[11] ความก้าวหน้าในการปริทัศน์เป็นระบบเร็ว ๆ นี้รวมทั้ง

ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับความหลากหลายของระเบียบวิธีและวิธีการสืบหาความรู้ (epistemology) ในสิ่งตีพิมพ์ที่มีอยู่เกี่ยวกับประเด็นการศึกษา

ส่วนข้อกำหนดของ PRISMA (Preferred Reporting Items for Systematic Reviews and Meta-Analyses)[15] เป็นระเบียบปฏิบัติมาตรฐาน เพื่อการรายงานที่โปร่งใสและสมบูรณ์แบบในงานปริทัศน์เป็นระบบ และปัจจุบันเป็นมาตรฐานบังคับของวารสารแพทย์กว่า 170 วารสารทั่วโลกสำหรับงานปริทัศน์แนวนี้[16]

องค์กรความร่วมมือคอเครน

[แก้]

Cochrane Collaboration เป็นกลุ่มนักเชี่ยวชาญทางวิทยาการพยาบาลและการแพทย์กว่า 31,000 คนที่ทำการปริทัศน์อย่างเป็นระบบในงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มเกี่ยวกับผลการป้องกัน การรักษา การฟื้นฟู และการปรับปรุงระบบพยาบาลและการแพทย์ นอกจากนั้นแล้วเมื่อเหมาะสม ก็จะรวมเอาผลของงานวิจัยแบบอื่น ๆ อีกด้วย ฐานข้อมูล Cochrane Reviews หรือมีชื่อเต็มว่า The Cochrane Database of Systematic Reviews เป็นส่วนของ Cochrane Library ซึ่งเป็นกลุ่มฐานข้อมูลทางการแพทย์และการพยาบาลรักษาเฉพาะทางอื่น ๆ ที่กลุ่ม Cochrane Collaboration และองค์กรอื่น ๆ เป็นผู้สนับสนุน ดัชนีอิทธิพล (impact factor) ซึ่งเป็นค่าแสดงอิทธิพลของวารสารในฟีลด์ของตน ๆ ของ Cochrane Reviews ในปี ค.ศ. 2010 อยู่ที่ 6.186 คือเป็นอันดับ 10 ในฟีลด์ “Medicine, General & Internal” (เวชศาสตร์ ทั่วไปและภายใน)[17] เทียบกับวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ซึ่งทรงอิทธิพลมากที่สุดสำหรับวารสารเกี่ยวกับเวชศาสตร์คลินิก (clinical medicine) ที่ 51.658 (ค.ศ. 2012)

กลุ่ม Cochrane Collaboration มีคู่มือให้กับผู้ทำงานปริทัศน์เป็นระบบในประเด็นการรรักษาพยาบาล มีจุดมุ่งหมายเพื่อ "แนะนำแนวทางผู้ทำงานเพื่อเตรียมงานปริทัศน์เกี่ยวกับการพยาบาลรักษามีมาตรฐานของ Cochrane Intervention reviews"[18] และมีหลักทั่วไป 8 อย่างเพื่อที่จะเตรียมทำงานปริทัศน์อย่างเป็นระบบ[18] คือ

  1. กำหนดปัญหาของงานปริทัศน์ และกฏเกณฑ์ในการเลือกสรรงานวิจัยที่จะใช้
  2. สืบหางานวิจัย
  3. เลือกงานวิจัยและเก็บข้อมูล
  4. ประเมินความเสี่ยงของความเอนเอียงในงานวิจัยที่เลือก
  5. วิเคราะห์ข้อมูล และทำ meta-analysis
  6. แก้ปัญหาสืบเนื่องจากความเอนเอียงประเภท reporting bias
  7. ทำรายงานผล โดยมีหมวดที่แสดงตารางข้อมูลย่อของสิ่งที่พบ
  8. แปลผลแล้วทำการสรุป

คู่มือเป็นฐานของมาตรฐาน 2 อย่างที่ใช้ในการทำ และการรายงาน งานปริทัศน์ที่ได้มาตรฐานของ Cochrane Intervention reviews[19]

ข้อดีและข้อเสีย

[แก้]

แม้ว่า งานปริทัศน์เป็นระบบจะได้รับพิจารณาว่าเป็นรูปแบบหลักฐานทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือมากที่สุด แต่ว่า ก็มีงานปริทัศน์ต่อ "งานปริทัศน์เป็นระบบ" 300 งาน ที่พบว่า มีความเชื่อถือได้ไม่เท่าเทียมกัน และผลงานเหล่านั้นจะมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ถ้าทำตามมาตรฐานและนโยบายที่ตกลงร่วมใจกัน[20]

งานวิจัยอีกงานหนึ่งจากกลุ่มนักวิจัยเดียวกันพบว่า ในงานปริทัศน์เป็นระบบ 100 งานที่ตรวจดู 7% ควรจะปรับปรุงในเวลาพิมพ์ 4% ควรจะปรับปรุงภายในปีหนึ่ง และ 11% ควรจะปรับปรุงภายใน 2 ปี และเปอร์เซ็นต์เหล่านี้มีค่าสูงขึ้นในฟิลด์การแพทย์ที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวชศาสตร์เกี่ยวกับระบบไหลเวียน (cardiovascular medicine)[21]

ส่วนงานวิจัยในปี ค.ศ. 2003 เสนอว่า การขยายการสืบหางานวิจัยที่จะใช้ นอกไปจากฐานข้อมูลหลัก ๆ รวมทั้ง grey literature[22] สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของงานปริทัศน์[23]

งานปริทัศน์เป็นระบบเริ่มจะเพิ่มความนิยมด้วยในฟิลด์อื่น ๆ เช่นการศึกษาเรื่องการพัฒนาระหว่างประเทศ (international development)[24] ดังนั้น ประเทศที่ให้เงินพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงการพัฒนาระหว่างประเทศ (ประเทศอังกฤษ - UK Department for International Development) และ องค์กรการพัฒนาระหว่างประเทศ (ออสเตรเลีย - AusAid) เริ่มให้ความสนใจและให้ทรัพยากรเพิ่มขึ้น ในการตรวจสอบความสมควรของการใช้งานปริทัศน์แบบเป็นระบบ เพื่อประเมินผลของการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาและเพื่อสังคมสงเคราะห์[24]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ (CD-ROM). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. 2002. ให้ความหมายของ review ว่า "การปริทัศน์" และของ systematic ว่า "-เป็นระบบ" [ (ผู้แปล) ตามความหมายน่าจะใช้คำว่า การปริทัศน์ทั้งระบบ หรือ การปริทัศน์แบบทั้งระบบ' เพราะรวบรวมเอาข้อมูลของทั้งระบบ]
  2. "What is EBM?". Centre for Evidence Based Medicine. 2009-11-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-06. สืบค้นเมื่อ 2011-06-17.
  3. Systematic reviews: CRD's guidance for undertaking reviews in health care (PDF). York: University of York, Centre for Reviews and Dissemination. 2008. pp. 109–218. ISBN 978-1-900640-47-3. สืบค้นเมื่อ 17 June 2011.
  4. Petticrew M, Roberts H (2006). Systematic reviews in the social sciences (PDF). Wiley Blackwell. ISBN 978-1-4051-2110-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-06-16.
  5. 5.0 5.1 Adèr, Herman J.; Mellenbergh, Gideon J.; Hand, David J. (contributor) (2008). "Chapter 3 Methodological quality". Advising on Research Methods: A consultant's companion (ภาษาอังกฤษ). Johannes van Kessel Publishing. pp. 49–70. ISBN 978-90-79418-02-2. {{cite book}}: |author3= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  6. "Collaboration for Environmental Evidence - Home". Environmentalevidence.org. 2012-10-10. สืบค้นเมื่อ 2013-08-29.
  7. "PRISMA". Prisma-statement.org. สืบค้นเมื่อ 2013-08-29.
  8. "Cochrane Handbook for Systematic Reviews of Interventions". Handbook.cochrane.org. สืบค้นเมื่อ 2013-08-29.
  9. Siemieniuk R, Guyatt G. "What is GRADE?". BMJ Best Practice (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-26.
  10. Schünemann H, Brożek J, Guyatt G, Oxman A, บ.ก. (2013). GRADE Handbook (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-26.
  11. Thomas, J.; Harden, A; Oakley, A; Oliver, S; Sutcliffe, K; Rees, R; Brunton, G; Kavanagh, J (2004). "Integrating qualitative research with trials in systematic reviews". BMJ. 328 (7446): 1010–2. doi:10.1136/bmj.328.7446.1010. PMC 404509. PMID 15105329.
  12. Pawson, R.; Greenhalgh, T.; Harvey, G.; Walshe, K. (1 July 2005). "Realist review - a new method of systematic review designed for complex policy interventions". Journal of Health Services Research & Policy. 10 (1 suppl.): 21–34. doi:10.1258/1355819054308530. PMID 16053581.
  13. MacFarlane, Fraser; Kyriakidou, Olivia; Bate, Paul; Peacock, Richard; Greenhalgh, Trisha (26 May 2005). Diffusion of Innovations in Health Service Organisations: A Systematic Literature. Studies in Urban and Social Change. Blackwell Publishing Professional. pp. 83–99. doi:10.1002/9780470987407.ch5. ISBN 9780727918697.
  14. Greenhalgh, Trisha; Potts, Henry W.W.; Wong, Geoff; Bark, Pippa; Swinglehurst, Deborah (2009). "Tensions and Paradoxes in Electronic Patient Record Research: A Systematic Literature Review Using the Meta-narrative Method". Milbank Quarterly. 87 (4): 729–88. doi:10.1111/j.1468-0009.2009.00578.x. JSTOR 25593645. PMC 2888022. PMID 20021585.
  15. Liberati, Alessandro; Altman, Douglas G.; Tetzlaff, Jennifer; Mulrow, Cynthia; Gøtzsche, Peter C.; Ioannidis, John P. A.; Clarke, Mike; Devereaux, P. J.; และคณะ (2009). "The PRISMA Statement for Reporting Systematic Reviews and Meta-Analyses of Studies That Evaluate Health Care Interventions: Explanation and Elaboration". PLoS Medicine. 6 (7): e1000100. doi:10.1371/journal.pmed.1000100. PMC 2707010. PMID 19621070.
  16. "Endorsing PRISMA". PRISMA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-20. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
  17. "2010 impact factor. Cochrane Database of Systematic Reviews (CDSR). Frequently asked questions" (PDF). The Cochrane Library. สืบค้นเมื่อ 2011-07-01.
  18. 18.0 18.1 Higgins, JPT; Green, S (บ.ก.). "Cochrane handbook for systematic reviews of interventions, version 5.1.0 (updated March 2011)". Cochrane Collaboration. สืบค้นเมื่อ 2011-06-17.
  19. Cochrane Editorial Unit. "Methodological Expectations of Cochrane Intervention Reviews (MECIR)". Cochrane Collaboration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-24. สืบค้นเมื่อ 2015-02-24.
  20. Moher, David; Tetzlaff, Jennifer; Tricco, Andrea C.; Sampson, Margaret; Altman, Douglas G. (2007). "Epidemiology and Reporting Characteristics of Systematic Reviews". PLoS Medicine. 4 (3): e78. doi:10.1371/journal.pmed.0040078. PMC 1831728. PMID 17388659.
  21. Shojania, Kaveh G.; Sampson, Margaret; Ansari, Mohammed T.; Ji, Jun; Doucette, Steve; Moher, David (2007). "How Quickly Do Systematic Reviews Go Out of Date? A Survival Analysis". Annals of Internal Medicine. 147 (4): 224–33. doi:10.7326/0003-4819-147-4-200708210-00179. PMID 17638714.[ลิงก์เสีย]
  22. grey literature เป็นสิ่งตีพิมพ์ที่อาจจะสืบหาได้ยากโดยวิธีหลักเช่นผ่านวารสารหรือหนังสือเฉพาะเรื่อง เพราะว่าไม่ได้ตีพิมพ์ผ่านองค์กรเพื่อการค้า หรือไม่สามารถเข้าถึงได้โดยทั่วไป แต่อาจจะเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญสำหรับผู้ทำงานวิจัย เพราะว่ามักจะเป็นงานต้นแบบและทันสมัย ตัวอย่างของสิ่งตีพิมพ์ประเภทนี้รวมทั้งเอกสารเกี่ยวกับสิทธิบัตร, technical report จากองค์กรของรัฐ หรือจากกลุ่มนักวิจัย (ที่ไม่มีการปริทัศน์โดยผู้ชำนาญในสาขาเดียวกันที่ทำงานเป็นอิสระ), working paper จากกลุ่มนักวิจัยหรือคณะกรรมการ และ white paper
  23. Savoie, Isabelle; Helmer, Diane; Green, Carolyn J.; Kazanjian, Arminée (2003). "Beyond Medline: reducing bias through extended systematic review search". International Journal of Technology Assessment in Health Care. 19 (1): 168–78. doi:10.1017/S0266462303000163. PMID 12701949.
  24. 24.0 24.1 Hagen-Zanker, Jessica; Duvendack, Maren; Mallett, Richard; Slater, Rachel; Carpenter, Samuel; Tromme, Mathieu (January 2012). "Making systematic reviews work for international development research". Overseas Development Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-23. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]