ข้ามไปเนื้อหา

คำประกาศอิสรภาพสหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำประกาศอิสรภาพสหรัฐ
ภาพวาดคณะกรรมการร่างคำประกาศอิสรภาพยื่นร่างให้กับรัฐสภาอเมริกา โดยภาพนี้พบได้ในธนบัตรสองดอลลาร์ด้วย

คำประกาศอิสรภาพแห่งสหรัฐ (อังกฤษ: United States Declaration of Independence) เป็นแถลงการณ์ซึ่งสภาภาคพื้นทวีปลงมติยอมรับเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งมีใจความว่า สิบสามอาณานิคม ซึ่งในเวลานั้นกำลังทำสงครามอยู่กับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่เป็นรัฐเอกราชแล้ว และดังนั้น ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษอีกต่อไป[1] คำประกาศอิสรภาพส่วนใหญ่เขียนขึ้นโดยโทมัส เจฟเฟอร์สัน อธิบายอย่างเป็นทางการว่าเหตุใดสภาจึงลงมติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม เพื่อประกาศอิสรภาพจากบริเตนใหญ่ ราวหนึ่งปีหลังจากการปะทุของสงครามปฏิวัติอเมริกัน วันเกิดของสหรัฐอเมริกา หรือวันประกาศเอกราช มีการเฉลิมฉลองขึ้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งตรงกับวันครบรอบที่คำประกาศอิสรภาพได้รับการเห็นชอบโดยสภา[1]

คำประกาศอิสรภาพดังกล่าวอธิบายเอกราชของสหรัฐอเมริกาโดยลำดับความเดือดร้อนของอาณานิคมจากพระเจ้าจอร์จที่ 3 และโดยการยืนยันสิทธิธรรมชาติ ตลอดจนสิทธิในการปฏิวัติ จุดประสงค์ดั้งเดิมของเอกสารในการประกาศอิสรภาพ แต่ทว่าข้อความของการประกาศอิสรภาพเดิมได้ถูกปฏิเสธไปหลังจากการปฏิวัติอเมริกัน แต่ความสำเร็จของมันได้เพิ่มมากขึ้นตามกาลเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยคที่สอง อันเป็นข้อความที่ครอบคลุมถึงสิทธิมนุษย์ปัจเจกชน:

ความสัตย์จริงดังต่อไปนี้เราถือว่าชัดแจ้งอยู่ในตัวแล้ว คือ ทุกคนได้รับการรังสรรค์มาให้เท่าเทียมกัน พระผู้สร้างเขาเหล่านั้นได้ประทานให้เขามีสิทธิบางประการอันถ่ายโอนแก่กันไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้รวมถึง ชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข

ประโยคนี้เรียกว่าเป็น "หนึ่งในประโยคที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในภาษาอังกฤษ"[2] และ "คำที่มีอำนาจและผลกระทบมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน"[3] และจากแนวคิดในการปกป้องสิทธิปัจเจกชนและกลุ่มคนชายขอบนี้เองที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่ออับราฮัม ลินคอล์น ผู้ซึ่งพิจารณาว่าคำประกาศอิสรภาพดังกล่าวเป็นรากฐานของปรัชญาการเมืองของตน[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "What is Independence Day in USA?". Tech Notes. July 2, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2019. สืบค้นเมื่อ July 2, 2015.
  2. Lucas, "Justifying America", 85.
  3. Ellis, American Creation, 55–56.
  4. McPherson, Second American Revolution, 126.