ฟันดาบ
การแข่งขันฟันดาบเวิลด์คัพ 2012 รอบชิงชนะเลิศ ที่ปารีส | |
สมาพันธ์สูงสุด | สหพันธ์ฟันดาบนานาชาติ |
---|---|
เล่นครั้งแรก | ระหว่างศตวรรษที่ 17 และ 19 ยุโรป |
ลักษณะเฉพาะ | |
การปะทะ | กึ่งสัมผัส |
ผู้เล่นในทีม | เดี่ยวหรือผลัดทีม |
แข่งรวมชายหญิง | ผสม และแยก |
หมวดหมู่ | ในร่ม |
อุปกรณ์ | เอเป้, ฟอยล์, เซเบอร์, สายไฟฟ้าประจำตัว, เสื้อไฟฟ้า, ด้ามจับ |
สถานที่ | สนามประลอง (ปริ้สท์)[1] |
จัดแข่งขัน | |
ประเทศ ภูมิภาค | ทั่วโลก |
โอลิมปิก | ตั้งแต่โอลิมปิกฤดูร้อน 1896 |
พาราลิมปิก | วีลแชร์ฟันดาบ ตั้งแต่พาราลิมปิกฤดูร้อน 1960 |
ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ | ฟันดาบเอเป้, ฟันดาบฟอยล์, ฟันดาบเซเบอร์ |
---|---|
มุ่งเน้น | อาวุธ |
Hardness | กึ่งสัมผัส |
เว็บไซต์ทางการ | fie |
ฟันดาบ เป็นกีฬาต่อสู้ที่มีการต่อสู้ด้วยดาบ[2] การแข่งขันฟันดาบสมัยใหม่มีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ ฟอยล์ เอเป้ และเซเบอร์ ใช้วัสดุของดาบแบ่งประเภทตามชื่อ แต่ละประเภทมีกติกาต่างกันออกไป นักกีฬาฟันดาบส่วนใหญ่มีความถนัดในประเภทเดียว กีฬาฟันดาบสมัยใหม่มีความนิยมมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยมีพื้นฐานมาจากศิลปะการฟันดาบแบบดั้งเดิม สำนักฟันดาบอิตาลีนำเอาการฟันดาบแบบดังเดิมซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ในอดีตของยุโรปนำมาปรับปรุง และต่อมาสำนักฟันดาบฝรั่งเศสก็ได้ปรับปรุงให้มีระบบที่ดียิ่งขึ้น การทำคะแนนในการแข่งขันฟันดาบทำได้โดยการสัมผัสกับคู่ต่อสู้
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1904 มีการเพิ่มประเภทที่ 4 ของฟันดาบที่เรียกว่าซิงเกิลสติก แต่ถูกยกเลิกหลังจากการแข่งขันครั้งนั้นและไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของฟันดาบสมัยใหม่ ฟันดาบแข่งขันเป็นหนึ่งในกีฬาแรก ๆ ที่เสนอในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ควบคู่ไปกับกรีฑา จักรยาน ว่ายน้ำ และยิมนาสติก ถูกบรรจุในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ทุกครั้ง
การแข่งขันฟันดาบ
[แก้]หน่วยงานกำกับดูแล
[แก้]การฟันดาบอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสหพันธ์ฟันดาบนานาชาติ (ฝรั่งเศส: Fédération Internationale d'Escrime; FIE) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีสมาชิกจาก 155 สมาคมระดับชาติ ซึ่งแต่ละแห่งได้รับรับรองจากรัฐบาล คณะกรรมการโอลิมปิก ให้เป็นตัวแทนหนึ่งเดียวของกีฬาฟันดาบประเภทโอลิมปิกในประเทศนั้น ๆ[3]
กฎ
[แก้]สหพันธ์ยังคงใช้กฎปัจจุบันที่ใช้ในการแข่งขันระดับนานาชาติหลัก ประกอบด้วยการแข่งขันฟันดาบเวิลด์คัพ ฟันดาบชิงแชมป์โลก และกีฬาฟันดาบในกีฬาโอลิมปิก[4] สหพันธ์สามารถให้มีการเสนอเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎได้ในการประชุมประจำปี[5]
ประวัติ
[แก้]กีฬาฟันดาบมีรากฐานมาจากการพัฒนาทักษะการใช้ดาบสำหรับการดวลต่อสู้และการป้องกันตัว ถือได้ว่าเป็น "หมากรุกความเร็วสูง" โดยแต่ละการต่อสู้จะเริ่มต้นและสิ้นสุดด้วยการชูมือ การมีน้ำใจนักกีฬาและการให้เกียรติมีความเข้มงวดในทุกระดับของการฝึกฝนและการแข่งขัน[6]
เค้าโครงของฟันดาบสมัยใหม่มีต้นกำเนิดในศตวรรษ 18 สำนักฟันดาบของอิตาลีในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา และภายใต้อิทธิพลของสำนักดังกล่าวก็ได้พัฒนาโดยสำนักฟันดาบของฝรั่งเศส[7][8] สำนักฟันดาบของสเปนหยุดพัฒนาและถูกแทนที่ด้วยสำนักของอิตาลีและฝรั่งเศส
การพัฒนาสู่กีฬา
[แก้]การเปลี่ยนจากการฝึกในรูปแบบทหารสู่การเป็นกีฬาฟันดาบ เกิดขึ้นตั้งแต่กลางศตวรรษ 18 นำโดยโดเมนิโก แองเจโล ซึ่งก่อตั้งสำนักวิชาฟันดาบชื่อว่า สำนักอาวุธแองเจโล (Angelo's School of Arms) ในคาร์ไลล์เฮาส์ โซโห ลอนดอน ในปี 1763[9] ใช้เป็นที่ศิลปะการฟันดาบอันเป็นกระแสนิยมแก่ชนชั้นสูง สำนักของแองเจโลบริหารงานโดยครอบครัวผ่านสามชั่วอายุคน และครองศิลปะการฟันดาบของยุโรปมาเกือบศตวรรษ[10]
แองเจโลวางกฎเกณฑ์สำคัญเกี่ยวกับท่าทางและจังหวะเท้าในวงการฟันดาบมาถึงปัจจุบัน แม้ว่าวิธีการโจมตีและป้องกันจะยังแตกต่างจากปัจจุบันมากก็ตาม แม้ในการสอนเป็นการตั้งใจที่เตรียมนักเรียนให้พร้อมสู่การต่อสู้จริง แต่แองเจโลก็เป็นปรมาจารย์ด้านการฟันดาบคนแรกที่เน้นย้ำถึงประโยชน์ต่อสุขภาพและการกีฬาของฟันดาบมากกว่าการใช้เป็นศิลปะการสังหาร โดยเน้นย้ำในหนังสือที่มีอิทธิพลของเขาชื่อ L'École des armes (สำนักแห่งการฟันดาบ) ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1763[10]
กติกาพื้นฐานรวบรวมและกำหนดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1880 โดยปรมาจารย์ด้านการฟันดาบชาวฝรั่งเศส กามีย์ เพรวอสต์ ในช่วงเวลานี้เองที่สมาคมฟันดาบที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการหลายแห่งเริ่มก่อตั้งขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น สมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งอเมริกาก่อตั้งขึ้นในปี 1891 สมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งบริเตนใหญ่ก่อตั้งขึ้นในปี 1902 และสหพันธ์สมาคมฟันดาบและหออาวุธแห่งชาติของฝรั่งเศสก่อตั้งขึ้นในปี 1906[11]
การแข่งขันฟันดาบอย่างเป็นทางการครั้งแรกจัดขึ้นที่การแข่งขัน Grand Military Tournament and Assault at Arms ครั้งแรกในปี 1880 ซึ่งจัดขึ้นที่ Royal Agricultural Hall ในอิสลิงตัน ประเทศอังกฤษ ในเดือนมิถุนายน การแข่งขันครั้งนี้ประกอบด้วยการแข่งขันระหว่างเจ้าหน้าที่กองทัพและทหาร การแข่งขันแต่ละครั้งต่อสู้สัมผัสกันห้าครั้งและปลายดาบฟอยล์ทาด้วยสีดำเพื่อให้ผู้ตัดสินมองเห็นอย่างชัดเจน[12] สมาคมยิมนาสติกและฟันดาบสมัครเล่นได้จัดทำกฎกติกาฟันดาบอย่างเป็นทางการขึ้นในปี 1896
กีฬาฟันดาบเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในโอลิมปิกฤดูร้อน 1896 ประเภทเซเบอร์จัดขึ้นในโอลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้ง ประเภทฟอยล์จัดขึ้นในโอลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้ง ยกเว้นในโอลิมปิกฤดูร้อน 1908 การแข่งขันเอเป้จัดขึ้นในโอลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้ง ยกเว้นในโอลิมปิกฤดูร้อน 1896 โดยไม่ทราบแน่ชัด
เริ่มขึ้นด้วยประเภทเอเป้ในปี 1933 ที่ผู้ตัดสินข้างสนามถูกแทนที่ด้วยโลร็อง-พาแกน เครื่องนับคะแนนไฟฟ้า[13] พร้อมเสียงสัญญาณและไฟสีแดงหรือสีเขียวที่แสดงเมื่อใดที่สัมผัสได้ ประเภทฟอยล์ถูกนำมาใช้ในปี 1956 และประเภทเซเบอร์ในปี 1988 กล่องบันทึกคะแนนช่วยลดความลำเอียงในการตัดสิน และช่วยให้นับคะแนนได้แม่นยำยิ่งขึ้นสำหรับการโจมตีที่เร็วขึ้น การสัมผัสที่เบากว่า และสัมผัสจากด้านหลังและด้านข้างมากกว่าเดิม[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "มาตรฐานสนามแข่งขันและอุปกรณ์กีฬา ฟันดาบ" (PDF). 2009.
- ↑ "Fencing | History, Organizations, & Equipment | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-19. สืบค้นเมื่อ 2024-02-02.
- ↑ "About FIE". FIE: International Fencing Federation. สืบค้นเมื่อ 4 August 2023.
- ↑ "About FIE". fie.org.
- ↑ "2022 FIE Congress Decisions and Rule Changes". fencing.net. 17 December 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2023. สืบค้นเมื่อ 1 August 2023.
The FIE Congress met on November 25 in Lausanne, Switzerland for their annual decisions regarding proposed rule changes as well as the additional decisions by the Executive Committee.
- ↑ Wells, Jonathan. "Fencing: A guide to the Olympics' most gentlemanly sport". Gentleman's Journal. Gentleman's Journal. สืบค้นเมื่อ 25 August 2024.
- ↑ Fencing Online เก็บถาวร 2011-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Fencing.net. Retrieved on 2012-05-16.
- ↑ A History of Fencing เก็บถาวร 2012-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Library.thinkquest.org. Retrieved on 2012-05-16.
- ↑ F.H.W. Sheppard, ed. Survey of London volume 33 The Parish of St. Anne, Soho (north of Shaftesbury Avenue), London County Council, London: University of London, 1966, pp. 143–48, online at British History Online.
- ↑ 10.0 10.1 Nick Evangelista (1995). The Encyclopedia of the Sword. Greenwood Publishing Group. pp. 20–23. ISBN 9780313278969.
- ↑ "Fencing". 28 February 2024.
- ↑ Malcolm Fare. "The development of fencing weapons".
- ↑ Alaux, Michel. Modern Fencing: Foil, Epee, and Sabre. Scribner's, 1975, p. 83.
- ↑ Freudenrich, Craig (2000-09-21). "How Fencing Equipment Works". How Stuff Works.
บรรณานุกรม
[แก้]- Amberger, Johann Christoph (1999). The Secret History of the Sword. Burbank: Multi-Media. ISBN 1-892515-04-0
- Barbasetti, Luigi (1936). The Art of the Sabre and the Epee. 1936. reprint 2019. ISBN 9783964010056
- British Fencing (September 2008). "FIE Competition Rules (English)". Official document. Retrieved 2008-12-16.
- Evangelista, Nick (1996). The Art and Science of Fencing. Indianapolis: Masters Press. ISBN 1-57028-075-4.
- Evangelista, Nick (2000). The Inner Game of Fencing: Excellence in Form, Technique, Strategy, and Spirit. Chicago: Masters Press. ISBN 1-57028-230-7.
- Gaugler, William M. (2004). "The Science of Fencing: A Comprehensive Training Manual for Master and Student: Including Lesson Plans for Foil, Sabre and Epee Instruction". Laureate Press. ISBN 1884528309.
- United States Fencing Association (September 2010). United States Fencing Association Rules for Competition. Retrieved 2011-10-03.
- Vass, Imre (2011). "Epee Fencing: A Complete System". SKA SwordPlay Books. ISBN 0978902270.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- FIE statutes (PDF)
- Fencing ที่เว็บไซต์ Curlie
- Fencing – FAQ from rec.sport.fencing
- Links to videos of basic fencing moves from MIT OpenCourseWare as taught in Spring 2007