ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาเวียดนาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การทับศัพท์ภาษาเวียดนามในที่นี้เป็นหลักการที่กำหนดตามราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือสำนักงานราชบัณฑิตยสภา)

หลักทั่วไป

[แก้]

1. หลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับเขียนทับศัพท์คำภาษาเวียดนามที่เขียนด้วยอักษรเวียดนามปัจจุบัน ซึ่งเรียกว่า จื๋อโกว๊กหงือ (chữ Quốc ngữ) หรืออักษรโรมันซึ่งมีเครื่องหมายพิเศษกำกับ ภาษาเวียดนามมีหลายสำเนียง เช่น สำเนียงฮานอย สำเนียงเว้ สำเนียงนครโฮจิมินห์ ฯลฯ ในหลักเกณฑ์นี้จะทับศัพท์ตามสำเนียงฮานอย

2. การเทียบเสียงพยัญชนะและสระ ให้ถือตามตารางการเทียบเสียงพยัญชนะและสระภาษาเวียดนาม

3. คำทับศัพท์ที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น คำในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ฯลฯ ให้ใช้ตามประกาศครั้งล่าสุด

4. คำที่ไทยรับมาใช้เป็นเวลานานจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิมได้ เช่น ไซ่ง่อน อันนัม เหงียน

5. วรรณยุกต์ภาษาเวียดนาม มี 6 ระดับ ดังนี้

5.1 งาง (ngang) ไม่มีเครื่องหมายกำกับ เสียงสูงไม่เปลี่ยนระดับ คล้ายเสียงสามัญแต่สูงกว่า ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงสามัญ เช่น
ma
câm
cơm
มา
เกิม (เสียงสั้น)
เกิม (เสียงยาว)
"ผี"
"ใบ้"
"ข้าว"
5.2 ฮเหวี่ยน (huyền) ใช้เครื่องหมาย ` กำกับ เสียงต่ำไม่เปลี่ยนระดับ คล้ายเสียงเอก ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงเอก เช่น
mà
bà
หม่
บ่
"แต่"
"ย่า, ยาย"
5.3 หงา (ngã) ใช้เครื่องหมาย ˜ กำกับ เสียงสูง-ขึ้นและตอนกลางกักที่เส้นเสียง ออกเสียงคล้าย 2 จังหวะโดยหยุดหลังจังหวะแรกเล็กน้อย ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงจัตวา เช่น
xã
rõ

"ตำบล"
"ชัด"
5.4 หอย (hỏi) ใช้เครื่องหมาย  ̉ กำกับ เสียงต่ำ-ขึ้น คล้ายเสียงจัตวา ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงจัตวา เช่น
m
r
มา
"หลุมศพ"
"ราคาถูก"
5.5 ซัก (sắc) ใช้เครื่องหมาย ´ กำกับ เสียงสูง-ขึ้น คล้ายเสียงตรี ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงตรี เช่น
má
mát
ม้
ม้าต
"แก้ม"
"สดชื่น, เย็นสบาย"
5.6 หนั่ง (nặng) ใช้เครื่องหมาย  ̣ กำกับ เสียงต่ำ-ตกและตอนท้ายกักที่เส้นเสียง คล้ายเสียงเอก แต่เสียงหนักกว่าและหยุดทันทีในตอนท้าย ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงเอกและให้ใช้สระเสียงสั้น เช่น
m
ch
mn

จิ
หมั่
"ต้นกล้า"
"คุณผู้หญิง, พี่สาว"
"บริเวณ, เขต"

6. เสียงพยัญชนะเวียดนาม เทียบได้กับเสียงพยัญชนะไทยทั้งอักษรสูงและอักษรต่ำ ขึ้นอยู่กับเสียงวรรณยุกต์ เช่น

hữu
hưu
หื
ฮื
"มี, เป็นเจ้าของ, อยู่ด้านขวา"
"หยุด, เกษียณ"
ในกรณีของอักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่ ให้ใช้ ห นำหน้า เช่น
vải วาย "ผ้า"
ในกรณีที่เป็นอักษรควบกล้ำ ไม่ถือว่า ห เป็นส่วนหนึ่งของพยัญชนะควบกล้ำ เพราะ ห เป็นเพียงอักษรที่ใช้กำกับให้เป็นเสียงสูงเท่านั้น เช่น
ngoan ngoãn งวาน-งวาน "ว่านอนสอนง่าย"
ในกรณีที่มีสระหน้า ให้เลื่อนสระหน้าไปไว้หน้า ห เพื่อช่วยการอ่าน เช่น
ngoen ngoẻn แงวน-งหวน "ปากแข็ง"

7. การเว้นวรรค คำที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อสถานที่ ชื่อทางภูมิศาสตร์ ฯลฯ ที่เขียนแยกกันในภาษาเวียดนาม เมื่อทับศัพท์ให้เขียนติดกันไป ไม่ต้องแยกคำตามการเขียนในภาษาเวียดนาม เช่น

Hội An
Gia Long
=
=
โห่ยอาน
ซาล็อง
ในกรณีที่เป็นชื่อบุคคลให้เขียนเว้นวรรคตามการเขียนในภาษาเวียดนาม เช่น
Võ Nguyên Giáp = หวอ เงวียน ซ้าป

8. การใช้เครื่องหมายยัติภังค์ คำที่เป็นชื่อเฉพาะในภาษาเวียดนามที่มีเครื่องหมายยัติภังค์ เมื่อทับศัพท์ให้เขียนเครื่องหมายยัติภังค์ตามการเขียนในภาษาเวียดนาม เช่น

Bà Rịa-Vũng Tàu = บ่าเสียะ-หวุงเต่า
คำทับศัพท์ที่เป็นชื่อเฉพาะ เมื่อทับศัพท์เป็นภาษาไทยแล้วอาจอ่านแยกพยางค์ผิด จะใส่เครื่องหมายยัติภังค์เพื่อช่วยให้อ่านถูกต้องก็ได้ เช่น
Cao Bá Quát = กาวบ๊า-กว๊าต

9. การใช้ไม้ไต่คู้ คำทับศัพท์ให้ใช้ไม้ไต่คู้ในกรณีที่มีเสียงสั้น แต่ถ้ามีเครื่องหมายวรรณยุกต์ให้ตัดไม้ไต่คู้ออกตามอักขรวิธีไทยปัจจุบัน เช่น

khuây
khuấy
เคว็
เคว้
"ลืม, สงบ"
"คน (กริยา)"

ตารางเทียบเสียง

[แก้]

เสียงพยัญชนะ

[แก้]
รูปเขียน เสียง ตำแหน่ง
ต้นคำ ท้ายพยางค์
ใช้ ตัวอย่างคำ คำทับศัพท์ ความหมาย ใช้ ตัวอย่างคำ คำทับศัพท์ ความหมาย
 b  ɓ  บ  bay  บั  บิน
 c  k  ก  các  ก๊าก  เหล่า, บรรดา, พวก  ก  c  บ๊า  ลุง
 ch  c[# 1]  จ  cha    บิดา  ก  thích  ทิ  ชอบ
 d  z  ซ, ส[# 2]  da    ผิวหนัง
 dậy  เส่  ตื่นนอน
 đ  ɗ  ด  đình  ดิ่  ศาลา
 g[# 3]  ɣ  ก  gà  ก่  ไก่
 gh  ɣ  ก  ghe  แ  เรือไม้ขนาดเล็ก
 gi[# 4]  z  ซ, ส[# 5]  già  ส่  แก่
 giá  ซ้  ราคา
 h  h  ฮ, ห[# 6]  h  เาะ  นามสกุล
 ho    ไอ
 k  k  ก  k  เก๋  เล่า
 kh  x  ค, ข[# 7]  khi  คี  เวลา, ขณะ, เมื่อ
 kh  ขี  ลิง
 l  l  ล  lo    กังวล, เป็นห่วง
 m  m  ม  m  แหม  แม่  ม  cằm  กั่  คาง
 n  n  น  no    อิ่ม  น  ăn  อั  กิน
 ng  ŋ  ง  ngà  หง่  งาช้าง  ง  ông  อ  ท่าน
 ngh  ŋ  ง  nghi  งี  สงสัย
 nh  ɲ[# 8]  ญ  nhà  หญ่  บ้าน  ญ  sinh  ซิ  เกิด
 nhanh  ญั  เร็ว
 p  p
 ป  khép  แค้  ปิด
 ph  f  ฟ, ฝ[# 9]  Pháp  ฟ้าป  ฝรั่งเศส
 ph  เ  ก๋วยเตี๋ยว
 qu  kw  กว  quan  กวาน  เจ้าหน้าที่
 r  z  ซ, ส[# 10]  ra    ออกไป
 rổ  โ  ตะกร้า
 s  s  ซ, ส[# 11]  sư  ซื  พระ
 s    ตะไคร้
 t  t  ต  tôi  โ  ฉัน  ต  bút  บู๊  ปากกา
 th    ท, ถ[# 12]  thu  ทู  ฤดูใบไม้ร่วง
 th    ปล่อย
 tr  c  จ  trà  จ่  น้ำชา
 v  v  ว  vui  วู  สนุก
 x  s  ซ, ส[# 13]  xa    ไกล
 xã    ตำบล
หมายเหตุ
  1. เมื่ออยู่ท้ายคำมักออกเสียงเป็น [k̟] ในสำเนียงฮานอย
  2. ใช้ ส ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
  3. ยกเว้นที่ตามด้วย i เพราะ gi แทนเสียง /z/ ซึ่งในการทับศัพท์แทนด้วย ซ, ส
  4. ยกเว้นคำ (สี่) = อะไร ซึ่งละสระ i เพราะรูป gi ปรากฏร่วมกับ i, y ไม่ได้
  5. ใช้ ส ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
  6. ใช้ ห ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
  7. ใช้ ข ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
  8. เมื่ออยู่ท้ายคำมักออกเสียงเป็น [ŋ̟] ในสำเนียงฮานอย
  9. ใช้ ฝ ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
  10. ใช้ ส ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
  11. ใช้ ส ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
  12. ใช้ ถ ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
  13. ใช้ ส ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา

เสียงสระ

[แก้]

สระเดี่ยว

[แก้]
รูปเขียน เสียง พยางค์ปิด[# 1] พยางค์เปิด[# 2]
ใช้ ตัวอย่างคำ คำทับศัพท์ ความหมาย ใช้ ตัวอย่างคำ คำทับศัพท์ ความหมาย
A
 a  [# 3]  –า  màn  หม่  ผ้าม่าน  –า  ta  ต  เรา
 –ั[# 4]  nhanh  ญั  เร็ว
 ă  a  –ั  mn  หมั่  เค็ม
 â  ə  เ–ิ  tân  เติ  ใหม่
E
 e  ɛː  แ–  em  อม  น้อง  แ–  m  หมะ  แม่
 ê  e[# 5]  เ–ะ (ลดรูป)[# 6]  lnh  หล่ญ  คำสั่ง
   เ–  bên  บน  ข้าง  เ–  tê    เหน็บชา
I, Y
 i, y  i  –ิ[# 7]  lch  หลิ  ปฏิทิน
   –ี  in  อี  พิมพ์  –ี  đi  ดี  ไป
 M  หมี  อเมริกา
O
 o[# 8]  ɔ  เ–าะ[# 9]  xong  ซ็อ  เสร็จ
 ɔː  –อ  con  ก  ลูก  –อ  có  ก๊  มี
 ô[# 10]  o  โ–ะ (ลดรูป)[# 11]  sông  ซง  แม่น้ำ
   โ–  bn  บ๊น  จำนวนสี่  โ–  cô    อาผู้หญิง,
 คุณ (ผู้หญิง)
 ơ  ɜː  เ–อ  ln  เลิ้  ใหญ่  เ–อ  m  หม  เปิด
U
 u  u  –ุ[# 12]  chúc  จุ๊  อวยพร
   –ู  núp  นู้  ซ่อนตัว  –ู  t  ตู๋  ตู้
 ư  ɯ  –ึ[# 13]  nhưng  ญึ  แต่ว่า
 ɯː
 –ือ  như  ญือ  เหมือน
หมายเหตุ
  1. พยางค์ปิด หมายถึง พยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย
  2. พยางค์เปิด หมายถึง พยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้าย
  3. เมื่อตามด้วย ch และ nh จะออกเสียงเป็น [aj] ในสำเนียงฮานอย เช่น sách [sajk̟˧˥], nhanh [ɲajŋ̟˧˧]
  4. เมื่อตามด้วย nh
  5. เมื่อตามด้วย ch และ nh จะออกเสียงเป็น [əj] ในสำเนียงฮานอย เช่น xếch [səjk̟˧˥], lệnh [ləjŋ̟˧ˀ˨ʔ]
  6. เมื่อตามด้วย c, ch, k, ng และ nh
  7. เมื่อตามด้วย c, ch, k, ng และ nh
  8. ในการเขียนคำเลียนเสียง คำภาษาถิ่น หรือคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ อาจใช้ oo ซึ่งออกเสียง ออ เช่น xoong (ซอง) เป็นภาษากลาง หมายถึง หม้อ
  9. เมื่อตามด้วย c, ch, k, ng และ nh
  10. ในการเขียนคำเลียนเสียง คำภาษาถิ่น หรือคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ อาจใช้ ôô ซึ่งออกเสียง โอ เช่น lôông tôông (โลงโตง) เป็นภาษาถิ่น หมายถึง เทศกาลลงทุ่งของชาวไท
  11. เมื่อตามด้วย c, ch, k, ng และ nh
  12. เมื่อตามด้วย c, ch, k, ng และ nh
  13. เมื่อตามด้วย c, ch, k, ng และ nh

สระประสมสองเสียง

[แก้]
รูปเขียน เสียง ใช้ ตัวอย่างคำ คำทับศัพท์ ความหมาย
A
 ai  aːj  –าย  ai  อาย  ใคร
 bài  บ่าย  บทเรียน
 ao  aːw  –าว  ao  อาว  สระน้ำ
 cao  กาว  สูง
 au  aw  เ–า  nhau    ซึ่งกันและกัน
 sáu  ซ้  จำนวนหก
 âu  əw  เ–ิว  đâu  เดิว  ไหน
 ay  aj  –ัย  cay  กัย  เผ็ด
 ây  əj  เ–็ย  cây  เก็ย  ต้นไม้
E
 eo  ɛːw  แ–ว  mèo  หม่  แมว
 êu  eːw  เ–ว  đều  ด่  ต่างก็, ทั้งหมด
I
 ia    เ–ีย  bia  เบีย  เบียร์, แผ่นหินสลัก
     เ–ีย  tiếng  เตี๊ย  เสียง, ภาษา
 iu  iːw  –ีว  dìu  สี่ว  จูง
 dịu  สิ่ว  นุ่ม, อ่อนโยน
O
 oa  waː  –วา  hoa  ฮวา  ดอกไม้
   wa  –วั–  hoặc  ฮหวั  หรือ
 oe  wɛː  แ–ว–  kht  ว้  เจาะ
 oi  ɔːj  –อย  nói  น้อย  พูด
 ôi  oːj  โ–ย  tôi    ฉัน
 ơi  ɜːj  เ–ย  chơi    เล่น
U
 ua    –ัว  mua  มัว  ซื้อ, จับจ่าย
 ưa  ɯə  เ–ือ  đưa  เดือ  พาไป, นำไป
     –ว–  xn  ซ  ฤดูใบไม้ผลิ
   weː  เ–ว  th    เช่า
 ui  uːj  –ูย  vui  วูย  สนุก
 ưi  ɯːj  –ืย  gửi  กื๋ย  ส่ง
     –ว–  buồn  บ่  เศร้า
   wɜː  –ัว  thuở  ถัว  เวลา
 ươ  ɯə  เ–ือ  đường  เดื่อ  ทาง, ถนน
 ưu  ɯːw  –ืว  hưu  ฮืว  หยุด, พัก
 uy  wiː  –วี  q  กวี๊  วิเศษ, มีค่าสูง

สระประสมสามเสียง

[แก้]
รูปเขียน เสียง ใช้ ตัวอย่างคำ คำทับศัพท์ ความหมาย
I, Y
 iêu, yêu  iəw  เ–ียว  kiểu  เกี๋ยว  แบบ
 yếu  เอี๊ยว  อ่อนแอ
O
 oai  waːj  –วาย  ngoài  งหว่าย  นอก
 oao  waːw  –วาว  ngoao  งวาว  เสียงคล้ายเสียงแมวร้อง
 oay  waj  –วัย  ngoáy  งวั้ย  แคะ
U
 uây  wəj  เ–ว็ย  khuấy  ว้ย  คน (กริยา)
 khuây  ว็ย  ลืม, สงบ
 uôi  uəj  –วย  muối  ม้วย  เกลือ
 tuổi  ต๋วย  อายุ
 nuôi  นวย  เลี้ยงดู
 uya  wiə  เ–วีย  khuya  วีย  ดึก
 uyê  wiə  เ–วีย  duyên  วีย  เสน่ห์
 uyu  wiːw  –วีว  khuỷu  ขวีว  ข้อศอก
 ươi  ɯəj  เ–ือย  tươi  เตือย  สด
 ươu  ɯəw  เ–ือว  hươu  เฮือว  เก้ง
 rượu  เสื่อว  เหล้า

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]