ข้ามไปเนื้อหา

ภาวะพร่องฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การขาดโกรวท์ฮอร์โมน)
ภาวะพร่อมฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต
ชื่ออื่นการขาดโกรตฮอร์โมน, ภาวะแคระเหตุต่อมใต้สมอง
โกรตฮอร์โมน
สาขาวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อ
อาการตัวเตี้ย[1]
ภาวะแทรกซ้อนน้ำตาลในเลือดต่ำ, คอเลสเตอรอลสูง, กระดูกเปราะ[1][2]
ประเภทเป็นแต่กำเนิด, ชนิดรับมา[1]
สาเหตุโกรตฮอร์โมนต่ำ[3]
ปัจจัยเสี่ยงพันธุรกรรม, การบาดเจ็ล, การติดเชื้อ, เนื้องอก, ได้รับการฉายแสง[2]
วิธีวินิจฉัยระดับฮอร์โมนในเลือด[2]
โรคอื่นที่คล้ายกันภาวะเอสจีเอ, กลุ่มอาการเทอร์เนอร์, กลุ่มอาการนูแนน, กลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลิ[2]
การรักษาโกรตฮอร์โมนทดแทน[1]
ความชุกไม่ทราบแน่ชัด[2]

ภาวะพร่องฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต หรือ การขาดโกรตฮอร์โมน (อังกฤษ: Growth hormone deficiency; GHD) เป็นภาวะทางการแพทย์ที่เกิดจากการมีโกรตฮอร์โมนไม่เพียงพอ (GH)[3] โดยมีอาการที่เด่นชัดที่สุดคือการมีส่วนสูงเตี้ย[1] ในทารกอาจมาด้วยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือองคชาตเล็ก[2] ในผู้ใหญ่อาจมาด้วยภาวะมวลกล้ามเนื้อลด, คลอเรสเตอรอลสูง หรือ กระดูกเปราะ[1]

GHD สามารถแบ่งเป็นประเภทเกิดแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นในภายหลังของชีวิต[1] สาเหตุอาจรวมถึงพันธุกรรม, บาดเจ็บทางกาย, การติดเชื้อ, เนื้องอก หรือจากการรับรังสีรักษา[2] ยีนที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะนี้ เช่น GH1, GHRHR หรือ BTK[3] หนึ่งในสามของผู้ป่วยไม่ปรากฏสาเหตุเฉพาะ[2] กลไกการเกิดโดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต่อมใต้สมอง[2] ในผู้ป่วยบางรายอาจพบเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองอื่น ๆ ซึ่งอาจเรียกว่าภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองชนิดผสม[4] การวินิจฉัยใช้การตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง[2]

การรักษาใช้การทดแทนโกรตฮอร์โมนซึ่งได้มาจากการสังเคราะห์[1] ความชุกของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[2] ผู้ป่วยหลายรายได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เป็นเด็ก[1] ในขณะที่รูปแบบที่เกิดจากความผิดปกติในยีนสามารถพบได้ประมาณ 1 ใน 7,000 คนของประชากร[3] ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยส่วนใหญ่เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 "Growth hormone deficiency". Genetic and Rare Diseases Information Center (GARD) – an NCATS Program (ภาษาอังกฤษ). 2016. สืบค้นเมื่อ 12 December 2017.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 "Growth Hormone Deficiency". NORD (National Organization for Rare Disorders). 2016. สืบค้นเมื่อ 12 December 2017.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "isolated growth hormone deficiency". Genetics Home Reference (ภาษาอังกฤษ). February 2012. สืบค้นเมื่อ 12 December 2017.
  4. "Combined pituitary hormone deficiency". Genetics Home Reference (ภาษาอังกฤษ). August 2010. สืบค้นเมื่อ 13 December 2017.
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

แม่แบบ:Pituitary disease