กองทัพกะเหรี่ยงแดง
กองทัพกะเหรี่ยงแดง | |
---|---|
ကရင်နီ တပ်မတော် มีส่วนร่วมในความขัดแย้งภายในประเทศพม่า | |
ธงของกองทัพกะเหรี่ยงแดง | |
ปฏิบัติการ | ค.ศ. พ.ศ. 2500[1] – ปัจจุบัน |
แนวคิด | ชาตินิยมกะเหรี่ยง |
ผู้นำ | อเบล ทวีด[1] คู ออเร อังสาน มยิน ซเว มยอทาน |
กองบัญชาการ | นยา โม, ตำบลชาเดา, รัฐกะยา[2] |
พื้นที่ปฏิบัติการ | รัฐกะยา |
ส่วนหนึ่งของ | กองทัพก้าวหน้าแห่งชาติกะยา[3] |
ปรปักษ์ | รัฐฝ่ายตรงข้าม
ฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ใช่รัฐ
|
การสู้รบและสงคราม | ความขัดแย้งภายในพม่า |
กองทัพกะเหรี่ยงแดง (Karenni Army) เป็นกองกำลังทางทหารของพรรคก้าวหน้าแห่งชาติกะเหรี่ยงแดง ซึ่งต่อสู้เพื่อการปกครองตนเองของชาวกะเหรี่ยงแดงในพม่า ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555 รัฐบาลพม่าได้เซ็นสัญญาสงบศึกกับพรรคก้าวหน้าแห่งชาติกะเหรี่ยงแดง[4] การสงบศึกเคยลงนามก่อนหน้านี้เมื่อ พ.ศ. 2538 แต่หลังจากเซ็นสัญญาเพียง 3 เดือนก็รบกันต่อ
รัฐกะเหรี่ยงแดงและประวัติศาสตรโดยย่อ
[แก้]รัฐกะเหรี่ยงแดงเป็นรัฐทางตะวันออกของพม่า มีรัฐฉานอยู่ทางเหนือและประเทศไทยทางตะวันออก ทางใต้และตะวันตกติดกับรัฐกะยินหรือรัฐกะเหรี่ยง เมืองหลวงคือเมืองหลอยก่อ รัฐนี้เป็นที่อยู่ของชาวกะเรนนีหรือชาวกะยาหรือชาวกะเหรี่ยงแดง
รัฐกะเหรี่ยงแดงเกิดจากการรวมตัวของรัฐในสมัยโบราณ 3 รัฐคือ กันตรวดี เจโบจี และเบาลาเก ซึ่งอยู่ทางใต้ของสหพันธรัฐฉานและทางตะวันออกของพม่าของอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษรับรู้และรับรองการเป็นเอกราชของรัฐเหล่านี้ในสนธิสัญญา พ.ศ. 2418 ระหว่างอังกฤษกับพระเจ้ามินดง โดยถือว่าดินแดนนี้ไม่ได้เป็นของอังกฤษและราชวงศ์อลองพญา รัฐกะเรนนีเหล่านี้จึงไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าของอังกฤษ รัฐกะเหรี่ยงแดงเข้ามาเป็นรัฐบรรณาการของพม่าของอังกฤษใน พ.ศ. 2435 รัฐธรรมนูญของสหภาพพม่า พ.ศ. 2490 ได้กล่าวอ้างว่ารัฐกะเหรี่ยงแดงทั้งสามเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพพม่าเรียกว่ารัฐกะเหรี่ยงแดง และสามารถแยกตัวได้เมื่อครบ 10 ปี ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 อู บี ทู เร ผู้นำของชาวกะเหรี่ยงแดงถูกลอบสังหารโดยกองทัพของรัฐบาลกลางเพราะคัดค้านการรวมรัฐกะเรนนีเข้ากับสหภาพพม่า การต่อสู้ภายในรัฐนี้ยังดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน ใน พ.ศ. 2495 เมืองไปที่เคยอยู่ในรัฐฉานได้รวมเข้ากับรัฐกะเหรี่ยงแดงและเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐกะยา ต่อมา ใน พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดตั้งพรรคก้าวหน้าแห่งชาติกะเรนนีและมีกองทัพกะเหรี่ยงแดงเป็นกองกำลังติดอาวุธ
กองทัพกะเหรี่ยงแดงยังคงต่อสู้กับทหารของรัฐบาลพม่าเพื่อเป้าหมายในการสร้างรัฐกะเหรี่ยงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500[5] แม้จะมีการหยุดยิงในระยะสั้น ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2538[6] กองทัพกะเหรี่ยงแดงยังต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธของกลุ่มแห่งชาติกะยัน (KNLP) และกลุ่มปลดปล่อยประชาชนแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNPLF) เนื่องจากปัจจุบันทั้งสองเป็นพันธมิตรกับกองทัพพม่า โดยกองทัพกะเหรี่ยงแดงถูกกล่าวหาว่ามีการบังคับใช้ทหารเด็ก แต่กลุ่มอ้างว่าเด็กมีความเต็มใจที่จะอาสาเป็นทหารเอง โดยมีแรงจูงใจจากการที่พ่อแม่เสียชีวิตระหว่างการต่อสู้กับกองทัพพม่า[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "KNPP". www.mmpeacemonitor.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 27 January 2017.
- ↑ Murray, Lucy. "Karenni rebels dig in for last stand". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-10. สืบค้นเมื่อ 2019-01-02.
- ↑ https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/774551[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Burma: Government, Rebels Sign Ceasefire". UCA News. 8 March 2012. สืบค้นเมื่อ 15 March 2012.
- ↑ KNPP www.mmpeacemonitor.org. Retrieved 27 January 2017.
- ↑ Karenni Army (KA) (Myanmar) GROUPS - ASIA - ACTIVE
- ↑ Child Soldiers in Non-State Armed Groups