เข้าพรรษา (พืช)
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก กล้วยจะก่าหลวง)
เข้าพรรษา | |
---|---|
เข้าพรรษา | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Liliopsida |
อันดับ: | Zingiberales |
วงศ์: | Zingiberaceae |
สกุล: | Globba |
สปีชีส์: | G. winitii |
ชื่อทวินาม | |
Globba winitii C.H.Wright |
เข้าพรรษา หรือ กล้วยจะก่าหลวง หรือข่าเจ้าคุณวินิจ (อังกฤษ: dancing ladies หรือ dancing ladies ginger; ชื่อวิทยาศาสตร์: Globba winitii ) เป็นพืชดอกในสกุลเทียนพรรษา วงศ์ขิง มีดอกเป็นช่อสีเหลือง มีเหง้าใต้ดิน กาบใบห่อขึ้นมาเป็นลำต้นเทียม ใบเดี่ยว ดอกช่อ มีริ้วประดับรูปไข่แกมรีสีม่วงแดงหรือสีขาวรองรับดอกย่อยสีเหลือง ผลรูปไข่มีสามพูออกดอกช่วงมิถุนายน – ตุลาคม พบในภาคเหนือและภาคกลาง พบครั้งแรกในไทยเมื่อ 4 กันยายน พ.ศ. 2467 ที่บ้านแม่ก้อ จังหวัดลำพูน โดยพระยาวินิจวนันดร ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ [1]
เข้าพรรษามีชื่ออื่น ๆ เช่น กล้วยจะก่าหลวง (ลำพูน), กลางคาน (กลาง) และว่านสาวหลง (กลาง)[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ปิยะ เฉลิมกลิ่น จิรพันธุ์ ศรีทองกุล และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. พรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย. กทม. โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพ. 2551 หน้า 142
- ↑ เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549