คำกริยา
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก กริยา)
คำกริยา คือคำที่ใช้บ่งบอกถึงการกระทำ การปรากฏ หรือสถานะของสิ่งที่กล่าวถึง คำกริยาอาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับภาษา อันมีองค์ประกอบจากกาล การณ์ลักษณะ มาลา วาจก หรือรวมทั้งบุรุษ ลิงค์ และพจน์ของสิ่งที่กล่าวถึงด้วย
ประเภท
[แก้]คำกริยาอาจแบ่งได้หลายประเภทตามหน้าที่การใช้งานและไวยากรณ์ของภาษา สำหรับภาษาไทยแบ่งคำกริยาออกเป็น
- ปฐมกริยา (primary verb) คือกริยารูปปัจจุบัน เช่น get, hold, ring, drink (ได้/มี,ถือ,กระดิ่ง,ดื่ม) เป็นต้น
- ทุติยกริยา (secondary verb) คือกริยารูปอดีต เช่น got, held, rang, drank เป็นต้น
- ตติยกริยา (tertiary verb) คือกริยาที่ต่อเนื่องจากอดีต แต่มีผลมาจนถึงปัจจุบัน เช่น gotten, holden, rung, drunk เป็นต้น
- อกรรมกริยา (intransitive verb) คือคำกริยาที่ไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน วิ่ง หกล้ม ร้องไห้ ตัวอย่างประโยค เช่น เขาร้องไห้ เธอวิ่ง
- สกรรมกริยา (transitive verb) คือคำกริยาที่บอกใจความยังไม่สมบูรณ์ ต้องมีกรรมมารองรับ เช่น ทำ กิน ซื้อ ขาย ยืม ขอ เช่า คำกริยาบางคำต้องมีทั้งกรรมตรงและกรรมรอง เช่น ให้ แจก ถวาย และคำกริยาหลายคำก็สามารถเป็นได้ทั้งอกรรมกริยาและสกรรมกริยา ตัวอย่างประโยค เช่น ฉันกินขนมปัง พ่อซื้อคอมพิวเตอร์
- วิกตรรถกริยา คือคำกริยาที่บอกใจความยังไม่สมบูรณ์ ต้องมีคำอื่นมารองรับแต่ส่วนนั้นไม่ถือว่าเป็นกรรม เช่น เป็น คือ เหมือน คล้าย มี เท่า คำที่ประกอบวิกตรรถกริยาเรียกว่า บทวิกัติการก (ภาษาอังกฤษถือว่าคำกริยาประเภทนี้เป็นชนิดเดียวกับคำกริยานุเคราะห์)
- กริยานุเคราะห์ (auxiliary verb) คือคำกริยาที่ช่วยบอกสถานะหรือกาลของกริยาอื่น เช่น คง อาจ จัก กำลัง เคย ต้อง น่า แล้ว
- กริยาสภาวมาลา (clausal verb) คือคำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม ในส่วนของประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยค
ในภาษาอื่นอาจมีคำกริยาประเภทอื่นดังนี้
- กริยาประสม (compound verb)
- วลีกริยา (phrasal verb) ระวังสับสนกับกริยาวลี (verb phrase)
- กริยายก (raising verb)
วิกิตำรามีคู่มือในหัวข้อ คำกริยา
ดูเพิ่ม
[แก้]- คำกริยาวิเศษณ์ (adverb)
อ้างอิง
[แก้]- คำกริยา เก็บถาวร 2009-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน