ข้ามไปเนื้อหา

เคพีเอ็น อวอร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก KPN Award)
เคพีเอ็น อวอร์ด
ภาพสัญลักษณ์รายการเคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 25
ประเภทเรียลลิตีโชว์
การประกวดร้องเพลง
สร้างโดยสยามกลการ
เคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น
เสนอโดย
กรรมการสุทธิพงษ์ วัฒนจัง
วินัย สุขแสวง
วรายุฑ มิลินทจินดา
อภิสราฐ์ เพชรเรืองรอง (ครั้งที่ 22-25)
ทาทา ยัง
ศรัณยู วินัยพานิช
โชติกา วงศ์วิลาศ
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
จำนวนฤดูกาล25
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 9
ช่อง 3

การประกวดร้องเพลงถ้วยพระราชทานชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย หรือ เคพีเอ็น อวอร์ด เป็นการประกวดร้องเพลงในระดับสูงที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากจัดขึ้นเพื่อชิงถ้วยรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รุ่นผู้ใหญ่) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (รุ่นเยาวชน) ริเริ่มโดยคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช จัดโดยบริษัท สยามกลการ จำกัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 - 2535 และบริษัท เคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 - 2559

ประวัติ[แก้]

การประกวดร้องเพลงชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย เป็นที่รู้จักในชื่อ การประกวดร้องเพลงสยามกลการ เนื่องจากจัดขึ้นโดย มูลนิธิสยามกลการมิวสิค ในเครือบริษัท สยามกลการ จำกัด โดยมีความคิดริเริ่มจากคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช ผู้จัดการใหญ่ของสยามกลการในขณะนั้น ที่มีความชอบส่วนตัวในเรื่องของเสียงเพลงและดนตรี โดยเริ่มจัดการประกวดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2526

ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานถ้วยรางวัลสำหรับนักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย จึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น การประกวดร้องเพลงถ้วยพระราชทานชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย และแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ตั้งตามชื่อผู้สนับสนุนหลักที่เป็นสินค้าที่สยามกลการมีบทบาทดูแลการจัดจำหน่ายในประเทศไทยในขณะนั้น ได้แก่ การประกวดร้องเพลงระดับประเทศ ในชื่อ นิสสัน อวอร์ด และระดับยุวชน ในชื่อ ยามาฮ่า อวอร์ด

การประกวดร้องเพลงสยามกลการได้สร้างนักร้องระดับประเทศหลายคนที่มีผลงานดังถึงปัจจุบัน เช่น เบิร์ด - ธงไชย แมคอินไตย์[1] และศิลปินดังคนอื่น ๆ (ดูรายชื่อ)

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 คุณหญิงพรทิพย์ได้แยกตัวจากสยามกลการ ออกมาก่อตั้ง บริษัท เคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด (กลุ่มเคพีเอ็น; KPN) โดยใช้ชื่อของคุณเกษม และคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช มาเป็นชื่อบริษัท เพื่อดูแลธุรกิจยานยนต์และอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 การประกวดร้องเพลงถ้วยพระราชทานชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยย้ายมาอยู่ในการดูแลของกลุ่มเคพีเอ็นไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตามยังคงใช้ชื่อการประกวดในระดับผู้ใหญ่ว่า นิสสัน อวอร์ด ในปี พ.ศ. 2536 ก่อนเปลี่ยนมาเป็น ซูบารุ อวอร์ด ในปี พ.ศ. 2537 และเริ่มใช้ชื่อว่า เคพีเอ็น อวอร์ด ในปี พ.ศ. 2538 (แต่เลื่อนมาจัดงานในปี พ.ศ. 2539 เพื่อถวายความอาลัยในช่วงการสวรรคตของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ส่วนในระดับยุวชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ใช้ชื่อการประกวดว่า ซูบารุ จูเนียร์ อวอร์ด

ต่อมาภายหลังคุณหญิงพรทิพย์มอบหมายให้ กรณ์ ณรงค์เดช บุตรชายคนเล็ก ดูแลรายการประกวดร้องเพลงรายการนี้แทน ในปี พ.ศ. 2552 กรณ์ได้ก่อตั้ง บริษัท เคพีเอ็น อวอร์ด จำกัด ขึ้นเป็นบริษัทย่อยในเครือกลุ่มเคพีเอ็น เพื่อจัดการประกวดรายการนี้โดยเฉพาะ และได้ปรับรูปแบบรายการใหม่เป็นรายการประกวดร้องเพลงแบบเรียลลิตีโชว์เพื่อให้ทันสมัยขึ้น[2]

ในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการประกวด เคพีเอ็น อวอร์ด จะไม่มีการรับสมัครผู้เข้าแข่งขัน แต่จะคัดเลือกจากผู้ผ่านเข้ารอบการประกวดนักร้องยอดเยี่ยมเครือสยามกลการในปีที่ผ่านมาแต่ไม่ได้รับรางวัล แล้วแข่งขันเพื่อเฟ้นหานักร้องยอดเยี่ยมคนที่ 25

ผู้เข้าประกวด[แก้]

ผู้เข้าประกวดที่มีชื่อเสียง[แก้]

ระดับผู้ใหญ่[แก้]

ระดับยุวชน[แก้]

ผู้เข้าประกวดทั้งหมด (พ.ศ. 2552-2559)[แก้]

ครั้งที่ รายชื่อผู้เข้าประกวด นักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย รองนักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย อันดับ 1 รองนักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย อันดับ 2
18 KPN 6 ธิติมา เจริญศรี[3] KPN 9 กรกันต์ สุทธิโกเศศ[4] KPN 8 น้ำฝน ภักดี[4]
19 [5][6] KPN 9 เอกพันธ์ วรรณสุทธิ์[7] KPN 2 อันโทนี่ ทง KPN 12 ธัญนันท์ ทองศีรธนพงษ์
20 KPN 6 ธรรศภาคย์ ชี[8] KPN 4 แอริคา คัมมิ่งส์ KPN 1 อลิสซาเบธ สิทธิเจริญยศ
21 KPN 6 วทัญญู จิตติเสถียรพร KPN 2 กนกฉัตร มรรยาทอ่อน KPN 4 พงษ์ปิติ ผาสุขยืด
22 [9] KPN 9 ชยพล ปัญหกาญจน์ KPN 3 จีราภรณ์ วิเศษเจริญ
KPN 4 ธนปกรณ์ อุปลกะลิน
KPN 10 รักชน พุทธรังสี
23 KPN 1 พรพรรณ มนชะติน KPN 10 เชตชวิน ชูประทุม KPN 4 พีรวัส วิศิษฎ์วโรดม
KPN 8 ปิยะณัฐ แดงพูนผล
24 KPN 7 กษิดิ์เดช หงส์ลดารมภ์ KPN 2 หทัยชนก สวนศรี KPN 1 เอกกมล บุญโพธิ์ทอง
KPN 6 ปวันรัตน์ อัศวะธนาพงศ์
25 KPN 1 กานต์ จั่นทอง KPN 3 สุภาพรรณ เสาวดี
KPN 6 ณัฐภัสสร สิมะเสถียร
KPN 7 เอกกมล บุญโพธิ์ทอง
KPN 2 ชิดชนก มัญชุรัตน์
KPN 4 สุชัญญ์ญา นรปฏิพัทธิ์
KPN 5 อัครินทร์ ฉายแก้วสกุลชัย
KPN 8 เจินเจิน บุญสูงเนิน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สยามกลการ"จากเศษเหล็กสู่ธุรกิจหมื่นล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-10. สืบค้นเมื่อ 2014-09-19.
  2. "ปิดตำนานเวทีสยามกลการ ปิดตำนานผู้สร้างนักร้องคุณภาพเมืองไทย". สนุก.คอม. 17 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "นก ธิติมา เจริญศรี". You2Play. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2012-10-25.
  4. 4.0 4.1 "นก (KPN 6) ซิวแชมป์ เคพีเอ็น อวอร์ด 2009". Kapook.
  5. "KPN Award 2012 แนะนำผู้เข้าแข่งขัน KPN 1 - KPN 6". Music MThai. 6 กันยายน 2011.
  6. "KPN Award 2012 แนะนำผู้เข้าแข่งขัน KPN 7 - KPN 12". Music MThai. 6 กันยายน 2011.
  7. "เพียว คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ จากเวที KPN AWARD 2010". Music MThai. 6 กันยายน 2011.
  8. "บี้ คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ จากเวที KPN AWARD 2011". Music MThai. 6 กันยายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2012-12-28.
  9. "ผู้เข้าแข่งขัน 10 คนสุดท้าย KPN Award 2012". KPN Award. 2012.