ซาวียะตุลอัรยาน

พิกัด: 29°54′N 31°12′E / 29.900°N 31.200°E / 29.900; 31.200
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ซาวิยะตุลอัรยาน)
ซาวียะตุลอัรยาน
ซาวียะตุลอัรยานตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
ซาวียะตุลอัรยาน
ซาวียะตุลอัรยาน
ที่ตั้งในประเทศอียิปต์
พิกัด: 29°54′N 31°12′E / 29.900°N 31.200°E / 29.900; 31.200
ประเทศ อียิปต์
เขตผู้ว่าการกีซา
เขตเวลาUTC+2 (EST)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)+3

ซาวียะตุลอัรยาน (อาหรับ: زاویة العریان) เป็นเมืองในเขตผู้ว่าการกีซา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกีซากับอะบูศีร[1] ทางตะวันตกของเมืองในพื้นที่ทะเลทราย มีนครสุสานซึ่งมีชื่อเดียวกัน และเกือบตรงไปทางทิศตะวันออกตรงข้ามแม่น้ำไนล์คือเมืองเมมฟิส ในซาวียะตุลอัรยานมีพีระมิดจำนวนสองแห่งและสุสานแมสตาบาจำนวนห้าแห่ง

พีระมิด[แก้]

พีระมิดชั้น[แก้]

พีระมิดสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์ น่าจะถูกสร้างในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์คาบา โดยที่พีระมิดดังกล่าวตั้งใจให้เป็นพีระมิดขั้นบันได ซึ่งมีขั้นบันไดประมาณห้าถึงเจ็ดขั้น ไม่ปรากฏชั้นหินนอกสุดที่คลุมพีระมิดไว้ ซึ่งบ่งบอกว่าพีระมิดนั้นยังสร้างไม่แล้วเสร็จ แผนผังของห้องใต้ดินมีลักษณะคล้ายกับพีระมิดฝัง ทางเดินที่นำไปสู่ด้านในมีห้องด้านข้าง 32 ห้องสำหรับจัดเก็บอุปกรณ์ฝังพระศพ[1][2]

พีระมิดที่ยังไม่แล้วเสร็จ[แก้]

พีระมิดที่ยังไม่แล้วเสร็จดังกล่าวเป็นของฟาโรห์ที่มีพระนามคลุมเครือ โดยส่วนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันคือฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ใช้สำหรับสร้างแกนกลางของพีระมิด โลงหินแกรนิตสีชมพูถูกพบในคูน้ำที่ตัดผ่านโครงสร้าง ถึงแม้ว่าอาจจะมีอายุนับย้อนกลับไปถัดจากหลังช่วงการก่อสร้างก็ตาม มีข้อสงสัยว่ามีห้องใต้ดินอยู่จริง แต่การขุดค้นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากปัจจุบันโครงสร้างนี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตหวงห้ามทางทหาร สิ่งปลูกสร้างดลังกล่าวมีชื่อเรียกอีกว่า "พีระมิดทางเหนือ" ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ที่สี่แห่งอียิปต์[1][2]

นครสุสาน[แก้]

พื้นที่ของซาวียะตุลอัรยานล้อมรอบด้วยสุสานทั้งหมดจำนวนห้าแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่ราชวงศ์ที่หนึ่ง, ราชวงศ์ที่สอง, ราชวงศ์ที่สามตอนปลาย, ราชวงศ์ที่สิบแปด และยุคโรมัน ในบรรดาสุสานเหล่านี้ มีเพียงแห่งเดียวที่มีอายุถึงปลายราชวงศ์ที่สามเท่านั้นที่เป็นสุสานขนาดใหญ่ ซึ่งมีสุสานแมสตาบาที่สร้างจากอิฐโคลนจำนวนสี่แห่ง ไรส์เนอร์และฟิชเชอร์ตั้งข้อสังเกตว่าสุสานเหล่านนี้น่าจะเป็นนครสุสานที่ตั้งอยู่รอบพีระมิดของฟาโรห์ สุสานขนาดใหญ่นั้นเป็นของเหล่าเชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห่างจากพีระมิดชั้นไปทางเหนือประมาณ 200 เมตร (660 ฟุต) มีแมสตาบาขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ "แมสตาบา Z500" ซึ่งค้นพบชามหินอ่อนจำนวนแปดใบที่ปรากฏเชเรคของฟาโรห์คาบา ไรส์เนอร์และฟิชเชอร์จึงสรุปว่า "ถ้าแมสตาบาเป็นของบุคคลที่เชื่อมโยงกับกษัตริย์ผู้สร้างพีระมิด ก็เป็นไปได้ว่าพระนามของกษัตริย์พระองค์นั้นคือคาบา" ความคิดเห็นดังกล่าวเป็นที่ยอมรับโดยนักอียิปต์วิทยาส่วนใหญ่ที่ถือว่าพีระมิดชั้นเป็นของฟาโรห์คาบา[3][4]

ซาวียะตุลอัรยานในปัจจุบัน[แก้]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 พื้นที่ส่วนใหญ่ใกล้กับซาวียะตุลอัรยานถูกจำกัดไม่ให้เข้าถึงเนื่องจากเป็นฐานทัพทหาร การเข้าถึงพีระมิดถูกจำกัดการเข้าถึงมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 โดยไม่อนุญาตให้มีการขุดค้น มีการสร้างที่พักทหารทับพื้นที่สุสานเดิม และปล่องของพีระมิดที่ยังไม่แล้วเสร็จถูกใช้เป็นที่ทิ้งขยะ และสภาพของหลุมศพทั้งสองนั้นยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดและอาจจะเข้าขั้นอันตราย[4][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Verner, Miroslav: The Pyramids: The Mystery, Culture, and Science of Egypt's Great Monuments. Grove Press. 2001 (1997). ISBN 0-8021-3935-3, p. 270.
  2. 2.0 2.1 Rainer Stadelmann: Die ägyptischen Pyramiden. Vom Ziegelbau zum Weltwunder (= Kulturgeschichte der antiken Welt, Bd. 30). von Zabern, Mainz 1997, ISBN 3-8053-1142-7, p. 140-144.
  3. G.A. Reisner and C.S. Fisher: The Work of the Harvard University - Museum of Fine Arts Egyptian Expedition (pyramid of Zawiyet El Aryan. (= Bulletin of the Museum of Fine Arts (BMFA); vol. 9, no. 54), Boston 1911, pp. 54-59.
  4. 4.0 4.1 Rainer Stadelmann: King Huni: His Monuments and His Place in the History of the Old Kingdom. In: Zahi A. Hawass, Janet Richards (Hrsg.): The Archaeology and Art of Ancient Egypt. Essays in Honor of David B. O’Connor, vol. II. Conceil Suprême des Antiquités de l’Égypte, Kairo 2007, p. 425–431.
  5. Roman Gundacker: Zur Struktur der Pyramidennamen der 4. Dynastie. In: Sokar, vol. 18, 2009. ISSN 1438-7956, p. 26–30.